วังจันทร์วัลเลย์ ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ เฟืองสำคัญผลักดัน New S-Curve ประเทศไทย

ท่ามกลางหลายวิกฤติที่ลากยาว ตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 มาจนถึงสงครามรัสเซีย-ยูเครน และสถานการณ์ค่าเงินผันผวนในหลายประเทศ จนกระทบความมั่นคงทางเศรษฐกิจทั่วโลก แน่นอนว่า หลังจากนี้ต่อไป หากต้องการจะอยู่รอดแบบไม่ตกขบวนในการเดินไปสู่อนาคตได้ หนึ่งตัวแปรสำคัญ คือ “นวัตกรรม” ที่จะเป็นกุญแจไขสู่ทางออกให้กับทุกๆ ประเทศ

แต่เมื่อมองย้อนกลับมาที่ประเทศไทยกลับพบว่า “เทคโนโลยีขั้นสูง” โดยฝีมือคนไทยนั้นกลับยังมีไม่มาก และถือเป็นความเปราะบางต่อ “จุดยืน” ของเราในโลกอนาคตหากไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีได้ทันนานาประเทศ แนวคิดก่อตั้ง โครงการนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ วังจันทร์วัลเลย์ จึงถือกำเนิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
วังจันทร์วัลเลย์ ตั้งอยู่ที่ ต.ป่ายุบใน อ.วังจันทร์ จ.ระยอง บนพื้นที่ 3,454 ไร่ เป็นการพัฒนาพื้นที่เพื่อสร้างระบบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) ในระดับชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีการนำแนวคิดเมืองอัจฉริยะ 7 ด้าน ซึ่งได้รับการรับรองจาก สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) เข้ามาใช้ในการออกแบบพัฒนาโครงการฯ โดยมีเป้าหมายที่จะผลักดัน พัฒนาผู้ประกอบการไทยให้เปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจแห่งอนาคตและอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ หรือ New S-Curve เพื่อเป็นกลไกในการพัฒนาเศรษฐกิจ และเพิ่มคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นด้วยนวัตกรรม องค์ความรู้ และเทคโนโลยี ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ ปตท. ที่ต้องการจะ “ขับเคลื่อนทุกชีวิต ด้วยพลังแห่งอนาคต” (Powering Life with Future Energy and Beyond)
ความน่าสนใจของ “วังจันทร์วัลเลย์”
ปตท. ในบทบาทผู้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค ได้ออกแบบพื้นที่เพื่อให้ วังจันทร์วัลเลย์ เป็นพื้นที่ในการพัฒนานวัตกรรม ที่สมบูรณ์แบบ รองรับการใช้งานในพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งเน้นการพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการบริหารจัดการพลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

การพัฒนาพื้นที่ภายในโครงการแบ่งออกเป็น 3 โซน ประกอบด้วย

1. Education Zone การพัฒนาพื้นที่เพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ เสริมสร้างความเข้มแข็งให้การวิจัย ประกอบด้วย สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) โรงเรียนกำเนิดวิทย์ (KVIS) ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ และศูนย์เรียนรู้เกษตรนวัต สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา

2. Innovation Zone เป็นพื้นที่สำหรับงานวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประกอบด้วย อาคารกลุ่มนวัตกรรม EECi ของสวทช PTTEP Technology & Innovation Center สำหรับงานวิจัยนวัตกรรม พัฒนาเทคโนโลยี, อาคารศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (Intelligent Operation Center: IOC) บริหารจัดการเมืองอัจฉริยะและนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ต่อยอดในเชิงธุรกิจ
นอกจากนั้น ปตท. ยังจะได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรในการดำเนินงานพื้นที่ผ่อนปรนกฎระเบียบสำหรับการทดสอบ ทดลองนวัตกรรมในพื้นที่โครงการวังจันทร์วัลเลย์ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการดำเนินงานเรื่องพื้นที่ผ่อนปรนกฎระเบียบสำหรับการทดสอบทดลอง อาทิ UAV Sandbox พื้นที่ต้นแบบที่ได้รับอนุญาตให้ทดสอบ-ทดลองเพื่อการวิจัยและพัฒนาอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน UAV Regulatory Sandbox เป็นต้น

3. Community Zone การพัฒนาพื้นที่สำหรับการอยู่อาศัยและสันทนาการ ประกอบด้วย ที่พักอาศัย สถานที่พบปะสังสรรค์ สถานที่ออกกำลังกาย พื้นที่สีเขียวยั่งยืน โรงแรม และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ 

นอกจากจะเป็นพื้นที่ส่งเสริมนวัตกรรมแล้ว วังจันทร์วัลเลย์ ยังได้รับการประกาศเป็น “ เมืองอัจฉริยะประเทศไทย” (Smart City Thailand) ครบทั้ง 7 ด้าน เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2564 จากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ซึ่งถือเป็นพื้นที่นำร่องในการพัฒนา Smart City ของประเทศ และเป็นพื้นที่ที่ได้รับการส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจและสังคม 

ระบบอัจฉริยะ 7 ด้าน ตามหลักเกณฑ์การส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ ของวังจันทร์วัลเลย์ ประกอบด้วย

1.Smart Environment มุ่งเน้นการบริการจัดการสภาวะแวดล้อมอย่างเป็นระบบ ถูกสุขลักษณะ มุ่งสู่การเป็น สังคมคาร์บอนต่ำ
Smart Energy ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน โดยติดตั้ง Solar Farm และ Solar Roof Top มีการบริหารจัดการพลังงานด้วยโครงข่าย Smart Grid รวมไปถึงการจัดให้มี EV Charging Station ในพื้นที่เพื่อรองรับการใช้ EV

2.Smart Economy มีการจัดเตรียมเครือข่าย 5G และ Wifi-6 ครอบคลุมทั้งพื้นที่ เพื่อความสะดวกสบายและส่งเสริมการดำเนินการทดลองและทดสอบนวัตกรรม (Regulatory Sandbox)
Smart Governance มีโครงข่ายเชื่อมโยงกับหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคส่วนต่างๆ มีการให้บริการแบบ One Stop Service โดยประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลสาธารณะ เพื่อความโปร่งใส

3.Smart Mobility ส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ จัดให้มีที่จอดรถยนต์อัจฉริยะ (Smart Parking) และให้บริการรถประจำทางไฟฟ้า (EV Bus)

4.Smart People มุ่งเน้นการพัฒนาความรู้และการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ โดยภายในโครงการมีสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ เช่น สถาบันวิทยสิริเมธี โรงเรียนกำเนิดวิทย์ โรงเรียนนานาชาติ มีการพัฒนาระบบ E-Learning/ E-Library

5.Smart Living มุ่งเน้นความปลอดภัยและบริการที่เพียบพร้อม โดยโครงการมีการออกแบบตามหลักการของ Smart Home และ Universal Design

อีกความโดดเด่นในนิยาม “ความสมาร์ท” หรือ “อัจฉริยะ” ที่วังจันทร์วัลเลย์ นั่นคือ อาคารศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (Intelligent Operation Center: IOC) เป็นอาคารปฏิบัติการ ซึ่งออกแบบการก่อสร้างที่ได้การรับรองตามมาตรฐาน LEED ( Leadership in Energy and Environmental Design) เป็นระบบอาคารเขียว ที่เน้นความยั่งยืน ประหยัดพลังงาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยในส่วนห้องควบคุมปฏิบัติการที่ควบคุมดูแลระบบต่างๆ ภายในและภายนอกตัวอาคารจะมีจอขนาดใหญ่แสดงผลที่ส่งจากระบบปฏิบัติการต่างๆ และมี Work Station ให้พนักงานปฏิบัติการสามารถควบคุมและสั่งการระบบปฏิบัติการต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความไฮเทคของระบบปฏิบัติการที่สำคัญ อาทิ ระบบแสดงสถานะและใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ แบบ Real-time เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบรวบรวมน้ำเสีย แสดงปริมาณการรับจ่ายสาธารณูปโภคแบบ Real-time และแสดงผลควบคุม-สั่งการ ระบบความปลอดภัยต่างๆ เป็นต้น

เมื่อมองไปที่วัตถุประสงค์การก่อตั้งที่ กลุ่ม ปตท. ตัดสินใจบุกเบิกที่ดินในพื้นที่ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง เนื่องจากต้องการพัฒนาบุคลากรทางด้านพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม และส่งเสริมงานวิจัยของประเทศ นอกจากจะพัฒนาพื้นที่เป็นโรงเรียนและมหาวิทยาลัยที่มีอยู่แล้ว ทางด้านกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เล็งเห็นศักยภาพของพื้นที่ฯ และปตท. โดยให้ความไว้วางใจในการวางแผน พัฒนา และบริหารพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ขึ้นเป็นฐานที่ตั้งสำคัญของ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม ทุกภาคส่วนของประเทศ รองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตามนโยบายประเทศไทย 4.0

ดังนั้น เกี่ยวกับความน่าสนใจในมุมของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะคำถามที่ว่า วังจันทร์วัลเลย์ มีดีอะไร? ทำไมนักลงทุนจะต้องเลือกลงทุนที่วังจันทร์วัลเลย์นั้น นอกจากระบบนิเวศที่ส่งเสริมและตอบโจทย์ด้านนวัตกรรมแล้ว พื้นที่วังจันทร์วัลเลย์เป็นศูนย์บริการประสานงานทางด้านธุรกิจนวัตกรรมที่เปิดโอกาสในการสร้างความร่วมมือการพัฒนาธุรกิจ และนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของผู้เช่าพื้นที่โครงการ และมี Innovation Ecosystem ที่ครบถ้วน 

โดยสิ่งที่นักลงทุนจะได้รับหากเข้ามาลงทุนพัฒนาและวิจัยนวัตกรรมในวังจันทร์วัลเลย์ จะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังต่อไปนี้

1.ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 13 ปี
ยกเว้นอากรนำเข้าวัตถุดิบสำหรับการทำวิจัยและพัฒนา

2.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาร้อยละ 17 ซึ่งต่ำสุดในเอเชีย

3.สมาร์ทวีซ่า สำหรับผู้เชี่ยวชาญและครอบครัว
พื้นที่ผ่อนปรนกฎระเบียบ ในการทำนวัตกรรม และเป็นแหล่งรวมนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญ

4.ศูนย์บริการด้านการลงทุน แบบเบ็ดเสร็จในที่เดียวเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน
สิทธิการเช่าพื้นที่ระยะยาวสำหรับจัดตั้งศูนย์วิจัยและการเช่าพื้นที่ในอาคารเพื่อการวิจัยและพัฒนา

5.โครงสร้างพื้นฐานที่สามารถใช้สอยร่วมกัน อาทิ โรงผลิตชิ้นงานต้นแบบอุปกรณ์ / เครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบ โคเวิร์กกิงสเปซ สนามทดลองและทดสอบ
ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมประเทศให้สามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้ เพื่อเตรียมพร้อมผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นประเทศแห่งนวัตกรรม อันจะช่วยเป็นเฟืองตัวใหม่ในการพัฒนาประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต

ความคิดเห็น

บทความที่มีคนอ่านมากที่สุด

อย่ากลัว Distruption เพราะมันมากาคุณแน่ๆ

“พจน์ อานนท์” หนัง Content “ต่ำ” แต่คำโปรโมท “สูง”

กางเกงยีนส์ ‘แม็ค’ ปรับธุรกิจอย่างไร ให้มากกว่าเดนิม สร้างการโตนิวไฮรอบ 7 ปี

Heineken 0.0 เบยร์ไม่มีแอลกอฮอลล์ แกกกฏโฆษณา และฉีกภาพเบียร์ในตำนาน

ต่อไปนี้ ระบบการทำธุรกิจ จะโดน Distrub