วิเคราะห์ศึก 3 ก๊ก เจ้าพ่อตลาดออนไลน์


 

ก้าวเข้ามาอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีนี้

เหมือนคลื่นใหญ่ยักษ์ที่แผ่ขยาย
สร้างผลกระทบในวงกว้าง
กับตลาดค้าปลีกออนไลน์ของไทย
.
เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
ที่กวาดผู้ประกอบการมากมายให้กลืนหายไป
ในทางกลับกัน ได้แผ้วถางพื้นที่สร้างผู้เล่นหน้าใหม่
ที่เกิดขึ้นจำนวนมาก
หลายรายอาศัยความได้เปรียบ
เรื่องประสบการณ์และเงินทุนหนุนหลัง
ขยายอาณาจักรทางธุรกิจจนเติบโต
กลายเป็นเจ้าใหญ่ในตลาดค้าปลีกออนไลน์
อย่าง Lazada, Shopee และ 11Street
สามขาใหญ่ ที่กำลังเปิดศึกแย่งชิงความเป็นหนึ่ง
ในตลาดค้าปลีกออนไลน์ของประเทศไทย
.
ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยในปี 2016
มีมูลค่า 2,560,103.36 ล้านบาท
มีแนวโน้มเติบโตประมาณ 10% ทุกปี
ส่วนหนึ่งมาจากการที่ไม่ว่า
ใครก็สามารถเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ได้ง่าย ๆ
แค่มีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
แต่การจะทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้นนั้น
ต้องอาศัยแพลตฟอร์มหรือหน้าร้าน
ที่เข้าถึงผู้บริโภคจำนวนมากได้
ซึ่งหลัก ๆ ที่มีผู้ใช้บริการเยอะ
อันดับต้น ๆ ก็คือ Lazada, Shopee และ 11Street
ที่ต่างก็มีจุดเด่นจุดด้อยที่แตกต่างกันไป
แต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน
คือ การแย่งชิงทั้งผู้ประกอบการออนไลน์และผู้บริโภค
ที่ต้องการซื้อสินค้าให้มาเข้ามาอยู่ในระบบของตัวเองให้มากที่สุด
1.ค่าย Lazada…เป็นเว็บอีคอมเมิร์ซ
ที่ก่อตั้งโดยบริษัท Rocket Internet
เน้นขายของในประเทศกลุ่มอาเซียน
เป็น Marketplace ให้ผู้ประกอบการออนไลน์
เข้ามาขายของได้
ซึ่งมีการโหมโปรโมชัน ส่วนลดราคาต่าง ๆ
ทำให้ราคาสินค้าหลายรายการต่ำกว่าตลาด
.
แต่จุดขายหนึ่งที่ทำให้ Lazada ได้รับความนิยม
คือระบบเก็บเงินปลายทาง
ที่เข้ากับความต้องการของผู้ใช้
ที่ยังไม่เชื่อมั่นระบบตัดเงินจากบัตรเครดิตก่อนได้สินค้า
โดย Lazada มีการระดมทุนหลายครั้ง
จนล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว
กลุ่ม Alibaba ได้เพิ่มการลงทุนใน Lazada
อีก 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
จนมีสัดส่วนหุ้นเพิ่มขึ้นจาก 51% เป็น 83%
เรียกว่าเกือบจะเป็นเจ้าของ Lazada เลยก็ว่าได้
2. ค่าย Shopee…เป็นตลาดซื้อของออนไลน์
ที่ให้คนมาเปิดร้านขายสินค้าได้เอง
โดยจุดขายคือไม่คิดค่าคอมมิชชั่นจากผู้ขาย
ซึ่ง Shopee เป็นบริษัทย่อยของ Sea หรือ Garena
บริษัทยูนิคอร์นสตาร์ทอัพชื่อดังในอาเซียน
ที่เพิ่งระดมทุนในตลาดหุ้นนิวยอร์ก
ทำให้ไม่แปลกที่บางครั้งซื้อของใน Shopee
จะได้ไอเทมในเกมอย่าง RoV เป็นของแถม
โดย Sea มีกลุ่ม Tencent จากจีนถือหุ้นอยู่มากถึง 39.8%
.
3.ค่าย 11Street..เป็นเว็บอีคอมเมิร์ซเจ้าใหญ่รายล่าสุด
ที่เข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทย
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท SK telecom
ผู้ให้บริการโทรคมนาคมจากเกาหลีใต้
โดยให้บริการ Marketplace
เน้นขายสินค้านำเข้าจากประเทศเกาหลีเป็นหลัก
.
ทั้ง 3 ค่ายนี้ ถามว่าค่ายไหนคนใช้เยอะกว่ากัน
ค่าย Lazada เฉลี่ยมีผู้ใช้งาน 78 ล้านครั้งต่อวัน
ค่าย Shopee เฉลี่ย 10 ล้านครั้งต่อวัน
ค่าย 11Street เฉลี่ย 10 ล้านครั้งต่อวัน
จะเห็นว่าค่าย Lazada
มีขนาดใหญ่กว่าอีกสองค่ายเกือบแปดเท่า!!!
.
การทำการตลาดของทั้งสามค่าย
เดินหมากเหมือนกัน ก็คือยอมขาดทุน(ในช่วงแรก)
เพื่อเฉือนเนื้อเค้กให้มากที่สุด
ทำให้ไม่แปลก ที่ยิ่งยอดขายเยอะยิ่งขาดทุนแยะ
เพราะปัจจัยหลักในการดึงดูดผู้ใช้งาน
คือโปรโมชันราคา ที่ต้องทำให้ต่ำกว่าห้างค้าปลีกทั่วไป
รวมไปถึงต่ำกว่าคู่แข่งอื่น ๆ จนยอมเข้าเนื้อตัวเอง
ซึ่งผลประกอบการที่ผ่านมาของทั้งสามก๊กมีดังนี้
.
ค่าย Lazada
ปี 2557 รายได้ 1,629,176,028 บาท ขาดทุน 863,136,671 บาท
ปี 2558 รายได้ 3,197,015,820 บาท ขาดทุน 1,958,537,919 บาท
ปี 2559 รายได้ 4,266,984,549 บาท ขาดทุน 2,115,452,087 บาท
.
ค่าย Shopee
ปี 2558 รายได้ 8,787 บาท ขาดทุน 211,117,173 บาท
ปี 2559 รายได้ 56,606 บาท ขาดทุน 528,606,947 บาท
.
ค่าย 11Street
ปี 2559 รายได้ 1,461,638 บาท ขาดทุน 184,982,612 บาท
นี่คือตัวเลขจริงๆ จากการดำเนินธุรกิจ
จึงไม่เห็นข่าวว่าทั้ง 3 ค่าย
จะแจกโบนัสให้กับพนักงาน
.
จากผลขาดทุนสะสมของแต่ละบริษัท
ทำให้หลายคนอาจคิดว่า
เป็นการแข่งกันเรื่องสายป่านทางเงินทุนอย่างเดียว
ว่าใครจะยืดได้นานกว่า
.
แต่จริง ๆ แล้วแต่ละค่าย
ต่างมีแผนที่แตกต่างกันออกไป
แม้เป้าหมายหลักของแต่ละรายจะเหมือนกัน
คือการหาจุดคุ้มทุน (Breakeven Point)
เพื่อพลิกบัญชีจากขาดทุนเป็นมีกำไร
แต่เป้าหมายรองแตกต่างกันออกไป
.
ค่าย Lazada หลังจากทำ Marketplace
กับ SMEs รายย่อยจนเกือบถึงจุดอิ่มตัว
อาจกำลังปรับใหญ่กลับมาขายสินค้าเอง
รวมถึงจับมือกับเจ้าของแบรนด์สินค้าต่าง ๆ โดยตรง
อย่างเช่น ซัมซุง ยูนิลีเวอร์ Xiaomi 3M
เพื่อได้มาร์จิ้นที่ถูกขึ้น
และอาจจะทำ Affiliate Program
หรือทำตัวเป็น Search Engine
สำหรับการค้นหาของซื้อของขายโดยเฉพาะ
เหมือนอย่างที่บริษัทรุ่นพี่อย่าง Taobao.com
ที่ทำประสบความสำเร็จมาแล้ว
.
ค่าย Shopee ค่ายนี้ใช้เงินของ Sea บริษัทของ Garena
เจ้าตลาดเกมออนไลน์ในภูมิภาคนี้
ที่มีเกมดังอย่าง Leage of Legends, FIFA Online, RoV
ซึ่งเกมเหล่านี้สร้างรายได้มหาศาลเลี้ยงทั้งกลุ่ม
ในระยะสั้น Shopee จึงเดินเกมขาดทุน
ได้โดยไม่เดือดร้อนทางการเงิน
โดยเฉพาะการไม่คิดค่าคอมมิชชันจากผู้ขาย
ที่ดึงดูดผู้ประกอบการออนไลน์จำนวนมากเข้ามาอยู่ในระบบ
แต่สิ่งที่ต้องเร่งทำคือสร้าง Brand Royalty
ให้ผู้ใช้กลับมาซื้อซ้ำให้ได้
ซึ่งถ้าแนวโน้มที่ว่านี้ยังไม่เกิดขึ้น
มีความเป็นไปได้ที่ SEA อาจใช้มาตรการ
รัดเข็มขัด Shopee เพื่อลดความใช้จ่ายให้น้อยลงเรื่อย ๆ
.
ค่าย 11Street น้องใหม่จากเกาหลี
มีแผนระยะสั้นที่ดูเข้าใจง่ายสุด
คือปั้นแบรนด์ให่ดังและเกิด
แล้วหาผู้ลงทุนรายใหญ่มาซื้อให้ได้
โดยค่ายเล็กอย่าง 11Street
แม้จะมีบริษัทคมนาคมใหญ่จากเกาหลีหนุนหลัง
แต่สายป่านก็ไม่ได้ยาวมากอย่างสองเจ้าแรก
จึงอาจต้องหาผู้ลงทุนรายใหญ่ให้ได้ภายใน 3-4 ปี นี้
ไม่อย่างนั้นมีโอกาสที่จะเป็นค่ายแรก
ที่ล้มหายในสงครามครั้งนี้
เหมือนกรณีค่าย Ensogo ที่ล่มสลายไปแล้ว
.
สิ่งที่มีผลให้บริษัททั้งสาม
ถึงจุดคุ้มทุนเร็วขึ้นนั้น
อาจจะเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบ
การให้บริการของธนาคารในอนาคต
ที่อาจจะเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ซื้อขายออนไลน์มากขึ้น
รวมถึงการเกิดเทคโนโลยี FinTech ใหม่ ๆ
ที่เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค
ในการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์
ซึ่งจะเป็นตัวเร่งให้ผลลัพธ์ของเกมนี้เร็วขึ้นอีกหลายเท่าตัว
.
กลุ่ม Alibaba พยายามเข้ามาทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ผ่านการเข้าซื้อหุ้น Lazada
แต่เส้นทางการครอบครองตลาดเอเซียน
ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ
เค้กก้อนนี้มีกลุ่มทุนอื่นหมายตาไว้เช่นกัน
ซึ่งก็ไม่ใช่ใครที่ไหน
กลุ่มที่สนใจคือ Tencent จากจีน ของ โพนี่ หม่า
ซึ่งใช้ Sea เป็นตัวแทน
รวมไปการเข้ามาของ JD
บริษัทอีคอมเมิร์ซอันดับสองของจีน
ที่จับมือกับเครือเซ็นทรัลในการตีตลาดค้าปลีกออนไลน์ไทย
แน่นอนว่า JD ก็เป็นอีกหนึ่ง
ในพันธมิตรของ Tencent ที่ถือหุ้นอยู่ถึง 21.25%
และในเรื่องศึกระบบการชำระเงินออนไลน์
ค่าย Lazada dHมี Alipay หนุนหลัง
.
ส่วน Shopee ก็ไม่น้อยหน้า
ระบบการชำระเงิน มี Airpay
เป็นระบบการชำระเงินออนไลน์สนับสนุน
ที่สำคัญ AirPay ยังออกนวัตกรรมทางการเงิน
เอาใจคนไทยที่นิยมการมีเครดิต
อย่าง สินเชื่อ Turbo Cash
ที่ให้ผู้ประกอบการที่ผู้บัญชีไว้กับ AirPay เคาน์เตอร์,
AirPay Wallet และ ร้านค้า Shopee
สามารถกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ
และไม่ต้องมีหลักทรัพย์ หรือบุคคลค้ำประกันอีกด้วย
.
ถามว่า แล้วในสมรภูมินี้
มีค่ายไทย อยู่ในสนามรบนี้มั๊ย
หลายคนอาจนึกถึง Tarad.com
แต่จริงๆ แล้วอาจไม่ใช่
ในไทยยังมีม้ามืดอย่าง Lnwshop
เว็บซื้อขายออนไลน์ของไทย
ที่มีจุดแข็งในการพัฒนาระบบหลังบ้านของตัวเอง
หรือจะเป็นน้องใหม่ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ได้
เพราะเทคโนโลยีสมัยนี้
เอื้อให้เกิด Startup รายใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา
จนบางทีไป Disrupt ธุรกิจเดิม ๆ
ให้หายไปได้อย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ
.
แล้วหลังสงครามยุติ
ผู้ซื้อคนไทยจะได้ประโยชน์จริงหรือ?
ช่วงแรกนักช้อปชาวไทยอาจจะได้ประโยชน์
จากสินค้าราคาถูกที่เกิดจากการทุ่มตลาด
แต่ระยะยาวเมื่อผู้ประกอบการออนไลน์รายย่อย
ในประเทศที่สายป่านไม่ยาวพอ
ได้ปิดตัวหายไปจนไม่เหลือคู่แข่ง
ส่งผลกระทบในวงกว้างไปถึงภาคธุรกิจอื่น ๆ ในประเทศ
อย่างเช่นผู้ผลิตสินค้า ผู้ประกอบการ SMEs ต่าง ๆ
ที่มีความเป็นไปได้ที่จะถูกบีบจากเจ้าใหญ่
ที่เป็นผู้คุมช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งหมดไว้
จนสามารถผูกขาดสินค้า กำหนดราคาได้ตามใจชอบ
ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้เพราะประเทศไทย
เพราะยังไม่มีกฎหมายมาปกป้องการกระทำในลักษณะนี้
ถ้าปล่อยให้เจ้าใหญ่รายเดียว
ควบคุมตลาดอีคอมเมิร์ซทั้งหมดของประเทศไว้ได้
ประชาชนมีสิทธิ์ที่จะได้ความเดือดร้อน
จากยักษ์ใหญ่จากบริษัทข้ามชาติ
ที่กลายมาเป็นทรราชกอบโกยกำไรคืน
จากผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด
หลังจากยอมขาดทุนสะสมเป็นเวลานานก็เป็นได้
เฮ่ย! มันเป็นแบบนี้ได้ไงฟ่ะ
.
ChatTalks…คุยธุรกิจ คิดให้เป็น http://www.facebook.com/chatchaitalk http://www.chattalks.biz Tel.092-387-1241 , Line ID : ChatTalks Email : kittisak1241@yahoo.com

ความคิดเห็น

บทความที่มีคนอ่านมากที่สุด

สงครามร้านชานมไข่มุกพลิกสู่บลูโอเชี่ยน! ‘แบร์เฮาส์’ ผุด 109 สาขา ปี 71

‘HAAB’ ขายขนมไข่เดือนละ ‘3 ล้านชิ้น’ เปิดร้านมา 1 ปี เตรียมบุก ‘มาเลเซีย’ เป็นประเทศแรก

ลอรีอัล ปารีส พา “ณิชา” บินลัดฟ้าสร้างปรากฎการณ์ Walk Your Worth โชว์บนรันเวย์สุดอลังการ ใจกลางหอไอเฟล ณ กรุงปารีส

มิติใหม่แห่งการเสพสื่อ เรื่องแบบนี้คุณต้องรู้

“ซีเจ ฟู้ดส์” ส่งแบรนด์ “บิบิโก รามยอน” วางขายที่แรกของโลก ตั้งเป้าทำยอดทะลุ 100 ล้้านบาท