อนาคต "แกรมมี่" หลังขายหุ้นให้ตระกูล "ศิริวัฒนภักดี"



มีคนยังสงสัย ว่า RS Promotion ปิดตัวไปแล้ว แล้วคู่แข่งอย่างค่าย “แกรมมี่” ยังคงอยู่ดีมีสุขอยู่เหรอ บอกเลยครับ ว่าตอนนี้ “แทบเอาตัวไม่รอด” ล่าสุดยอมขาย GMMZ สัดส่วน 50% ให้กับตระกูล “สิริวัฒนภักดี” ของเบียร์ช้าง

GMMZ เคยวางเป็นธุรกิจดาวรุ่ง จึงทุ่มลงทุนไปจำนวนมหาศาล ทั้งคอนเทนต์ และการจัดจำหน่ายผลิตกล่องดาวเทียม แต่สุดท้าย ก็ทนไม่ไหว ขาดทุนชนิดเลือดสาด หมดไปหลายพันล้าน จน “อากู๋” ต้องทยายตัดขายหุ้น ที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก ออกไปจากบริษัทฯ

เริ่มจากขายทิ้งหุ้น “มติชน” ในราคา "เท่าทุน" ให้กับกลุ่มจึงรุ่งเรืองกิจ ตามด้วยการขายหุ้นในซีเอ็ด (ร้านหนังสือ) จนในที่สุด ตัดขายทิ้งธุรกิจเพย์ทีวี ไปให้กับ CTH ตาม มาด้วยธุรกิจสิ่งพิมพ์ทั้งหมด รวมมูลค่า 45 ล้านบาท ให้กับบริษัท ซีทรู จำกัด

นอกจากนั้น ยังขายหุ้น 50% ที่ถืออยู่ในบริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ ให้กับบมจ.เวฟ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ของกลุ่มมาลีนนท์

เมื่อตัดอวัยวะเพื่อรักษาชีวิตของแกรมมี่ ก็ต้องฝากอนาคตไว้กับ ธุรกิจ “ทีวีดิจิทัล” ที่ประมูลมาถึง 2 ช่อง คือช่องวันและช่อง GMM 25 ช่องวัน นั้นอยู่ภายใต้การดูแล ของ บอย-ถกลเกียรติ วีรวรรณ ที่เคยมีประสบการณ์ และฝากฝีมือ จากการผลิตละคร และซิทคอม ป้อนให้กับทีวีช่องต่างๆ มาแล้ว

ส่วนช่อง GMM 25 มี พี่ฉอด-สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา เป็นหัวเรือใหญ่ เพื่อเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่วัยทีน แต่วันนี้ สงครามทีวีติจิตอลมันโหด มีคู่แข่งเต็มๆ กว่า 26 ช่อง แถมพฤติกรรมคนดูก็เปลี่ยนไป ไม่ได้อยู่แค่หน้าจอทีวี ยังมีแพลทฟอร์มออนไลน์อีกเยอะ ทั้ง Youtube และ Line TV ขนาดช่องหลักอย่างช่อง 3 และช่อง 7 ก็ยังต้องกุมขมับ ต้องลุกขึ้นมาทำโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม ดังนั้น ช่องแกรมมี่ 2 ช่อง จุงอยู่ในภาวะขาดทุนอย่างต่อเนื่องมาตลอด



สถานการณ์เป็นแบบนี้ แกรมมี่จึงต้องวิ่งหา “นายทุน” ใหม่ เข้ามาช่วยต่อลมหายใจ เริ่มจาก “ช่องวัน” ที่ใช้เงินลงทุนสูงกว่า จีเอ็มเอ็ม 25 แกรมมี่ติดต่อเจรจามาแล้วหลายราย รวมทั้ง “กฤตย์ รัตนรักษ์” เจ้าของช่อง 7 ก็เคยถูกทาบทามมาแล้ว แต่ในที่สุด มาลงตัวที่ “กลุ่มปราสาททองโอสถ” เจ้าของช่อง PPTV ที่ยอมควักเงิน 1.9 พันล้าน มาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ในสัดส่วน 50% เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ตามมาด้วยดีลล่าสุด ขายหุ้น 50% ของ GMMZ คิดเป็นมูลค่า 1,000 ล้านบาท ให้กับตระกูลสิริวัฒนภักดี

หลังการ “ปลดล็อก” ลดภาระการลงทุนทีวีดิจิทัล แกรมมี่เองจะกลับสู่สามัญ หันมาเป็นผู้ผลิตรายการ หรือ content provider ป้อนให้กับ “ช่องทีวี” ทุกราย ส่วนช่องวัน และช่อง จีเอ็มเอ็ม 25 นับจากนี้ จะเดินไปตามนโยบาย และทิศทาง ของพาร์ตเนอร์รายใหม่ที่เข้ามาซื้อ

ช่องวันนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหาร เนื่องกลุ่มปราสาททองโอสถเอง ต้องการคงจุดยืนของช่องวันไว้เช่นเดิม โดยมีละครเป็นคอนเทนต์หลัก ส่วนจีเอ็มเอ็ม 25 นั้นในเบื้องต้น พี่ฉอด-สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา ยังคงรับหน้าบริหารงานต่อไปอีกอย่างน้อย 5 ปี เพื่อคงจุดแข็งของช่อง ที่เป็นกลุ่มวัยรุ่นไว้

ดีลการซื้อหุ้นครั้งนี้ นอกจากทีวีดิจิทัลแล้ว ยังได้รวม “เอไทม์ มีเดีย” สื่อวิทยุ ที่ถือเป็นธุรกิจหลักของแกรมมี่ไปด้วย ก็เพื่อต้องการเข้าถึงกลุ่มคนฟังทั่วไปให้ได้มากที่สุด

นี่คือ จุดเปลี่ยนและที่มาของ “แกรมมี่” ที่วันนี้ “อากู๋” ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่เป็นเพียงแค่ทีมผู้บริหาร ที่ผู้ถือหุ้นใหญ่จริงๆ ยังยอมให้บริหาร ในฐานนะผู้ก่อตั้งเท่านั้น เฮ่ย! มันเป็นแบบนี้ได้ไงฟ่ะ

ChatTalks…คุยธุรกิจ คิดให้เป็น
http://www.facebook.com/chatchaitalk
http://www.chattalks.info
Tel.092-387-1241 , Line ID : ChatTalks
Email : kittisak1241@yahoo.com

ความคิดเห็น

บทความที่มีคนอ่านมากที่สุด

สงครามร้านชานมไข่มุกพลิกสู่บลูโอเชี่ยน! ‘แบร์เฮาส์’ ผุด 109 สาขา ปี 71

‘HAAB’ ขายขนมไข่เดือนละ ‘3 ล้านชิ้น’ เปิดร้านมา 1 ปี เตรียมบุก ‘มาเลเซีย’ เป็นประเทศแรก

ลอรีอัล ปารีส พา “ณิชา” บินลัดฟ้าสร้างปรากฎการณ์ Walk Your Worth โชว์บนรันเวย์สุดอลังการ ใจกลางหอไอเฟล ณ กรุงปารีส

มิติใหม่แห่งการเสพสื่อ เรื่องแบบนี้คุณต้องรู้

“ซีเจ ฟู้ดส์” ส่งแบรนด์ “บิบิโก รามยอน” วางขายที่แรกของโลก ตั้งเป้าทำยอดทะลุ 100 ล้้านบาท