เมื่อออนไลน์..เป็นสื่อหลัก แมส มีเดีย เป็นสื่อรอง
เดี๋ยวนี้ โลกดิจิตอล มันกว้างขึ้น
คนทำธุรกิจสมัยนี้
บางคนลืมเรื่อง Mass Market
หรือ Niche Market ไปแล้ว
เพราะทุกวันนี้ ในเรื่องการใช้สื่อ
กรอบจำกัดตรงนี้มันเริ่มหายไป
และ Online Marketing เดี๋ยวนี้
มันเริ่มเป็น Mass มากขึ้นทุกวัน
เพราะคนผูกพัน กับมือถือ
และออนไลน์ทุกลมหายใจ
.
หลายคนที่หัวทันสมัย
และเข้าใจในพฤติกรรมนี้
ตอนนี้หลายสินค้า เริ่มลืมสื่อหลักสมัยก่อน
อย่างทีวี หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
เพราะเค้ามองว่า นั่นไม่ใช่สื่อหลัก
แต่มันเป็นสื่อรองในยุคปัจจุบัน
.
หลายสินค้า หลายแบรนด์
ตอนนี้เค้าเริ่มแล้ว ที่ทำการตลาด
โดยใช้สื่อออนไลน์อย่างเดียว
และทิ้งสื่ออื่นๆ ไปอย่างหน้าตาเฉย
เพราะเค้าเชื่อว่า
วันนี้ โลกออนไลน์มันครองคน
คุณลองไปดู “ซอสต๊อด”
ที่เค้าทำการตลาดสินค้าแบบนี้จริงๆ
และก็ประสบผลสำเร็จอย่างน่าพอใจเสียด้วย
.
สื่อออนไลน์ยุคนี้
มันไม่ใช่แค่ซื้อ Banner ตามเว็บดังๆ
แต่มันมากไปกว่านั้น
แล้วก็เข้าถึงคนได้ดีเสียด้วย
.
สิ่งที่ได้เปรียบอย่างเห็นๆ คือ
งบโฆษณาและค่าใช้จ่าย marketing จะถูกมาก
ถ้าคุณใช้ TV ค่าทำภาพยนตร์โฆษณา
เดี๋ยวนี้หลักล้านขึ้นไป
ทำหนึ่งเรื่อง ต้องใช้งบ 1-2 ล้านบาท
นี่คือเรื่องจริง ที่เกิดขึ้น
.
แต่ถ้าคุณใช้ Online
งบตรงนี้จะลดลงมาก
เพราะการทำ VDO Advertising
ที่เอามาปล่อยใน Youtube ใน Facebook
หรือใน Google ใน IG หรือสื่อออนไลน์ต่างๆ
เค้าใช้ VDO หมดครับ
ไม่ได้ใช้ภาพยนตร์โฆษณา
.
นี่คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้น
แค่คุณสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาหนึ่งเว็บ
ทีมีระบบตระกร้าขายของ
แล้วคุณใส่สินค้าลงไปให้คนซื้อ
ที่เหลือจากนั้น ก็ใช้ Online Marketing เป็นสื่อ
ดึงคนให้เข้ามาซื้อสินค้า
.
วิธีจ่ายเงิน
เดี๋ยวนี้การโอนเงินออนไลน์
มันง่ายและคนคุ้นเคยแล้ว
แค่คุณผูกกับระบบดีๆ
หรือใช้ Online Banking ของธนาคาร
แค่นี้ก็เรียบร้อย
.
แล้ววิธีส่ง
เดี๋ยวนี้ระบบ Logistic บ้านเราดีมาก
คุณจะส่งทางไปรษณีย์
หรือจะส่งผ่าน Kerry Express ก็ได้
เพราะเค้ารับส่งทั่วไทยอยู่แล้ว
.
นี่คือเรื่องจริง ที่กำลังเกิดขึ้น
เมื่อ Online เริ่มเป็นสื่อหลัก
และ Mass Media กลายเป็นสื่อรอง
ยุคนี้การทำธุรกิจ
ถ้าคุณใช้ Online อย่างเดียว
คุณก็อยู่รอดและร่ำรวยได้จริงๆ ครับ
.
ChatTalks…คุยธุรกิจ คิดให้เป็น
www.chattalks.info
www.facebook.com/chatchaitalk
Tel.092-387-1241 , Line ID : ChatTalks
Email : kittisak1241@yahoo.com
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็นต่อบทความนี้