ร้านค้ายุคใหม่ หลากหลายชนิด ต่างกันอย่างไร

เคยสงสัยไหมว่าบางครั้งการที่เราไปซื้อสินค้าที่ร้าน มักมีร้านค้าหลายประเภทที่มีชื่อเรียกต่างกัน แม้ว่าร้านนั้นจะเป็นของแบรนด์เดียวกัน เช่นการเข้าไปซื้อรองเท้า Adidas ที่ร้าน Official Storeในห้าง หรือซื้อที่ร้าน Super Sport หรือว่าเราจะเลือกไปที่ Outlet Store ทั้ง 3 ร้านนี้ต่างกันอย่างไร และทำไมถึงเรียกชื่อต่างกัน เราสรุปประเภทร้านค้าที่น่าสนใจที่ขาช้อปเจอบ่อยๆ มาไว้ให้แล้ว
.
📌 Official Store : ร้านค้าอย่างเป็นทางการของแบรนด์ ซึ่งแบรนด์เป็นเจ้าของ หรือตัวแทนที่ผ่านการรับรองก็ได้ เช่น Dyson Official Store , Xiaomi Official Store
.
📌 Outlet Store : หลายคนคุ้นกับร้านค้าประเภทนี้ โดยถ้าอยากหาสินค้าที่ลดราคาเยอะๆ ต้องพุ่งไปที่ร้านเอาท์เล็ทของแบรนด์ที่อยากได้ก่อน ซึ่งร้านค้าแบบเอาท์เลทเริ่มต้นในโรงงานในอเมริกาที่นำสินค้าค้างสต๊อกออกมาจำหน่ายให้พนักงานราคาถูก ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ผู้ซื้อได้สินค้าลดราคา และบริษัทได้ระบายสินค้าออก หลังจากนั้นเป็นต้นมาแบรนด์ต่างๆ ก็เริ่มมีการสร้างเอาท์เล็ทสำหรับระบายสินค้าในราคาถูกขึ้น เช่น แบรนด์ adidas, nike , levi’ s
ในปัจจุบัน Outlet Store เปิดขายทั่วไปและเน้นสินค้าที่ตกรุ่น สินค้ามีตำหนิ หรือค้างสต๊อกออกมาจำหน่ายในราคาถูกกว่าร้านปกติ 20% ขึ้นไป
.
📌 Flagship Store : ร้านหลักที่เป็นสัญลักษณ์ หรือหน้าร้านที่โดดเด่นที่สุดของแบรนด์นับได้ว่าเป็นร้านที่มีเพื่อแสดงถึงศักยภาพของแบรนด์ เป็นหน้าเป็นตาโดยมีการแสดงสินค้าพรีเมียม นวัตกรรมของสินค้า และมีการตกแต่งตึกหรือหน้าร้านที่สวยงามอลังการ เช่น Apple Flagship Store Central World ที่มีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น และสามารถสร้างเสียงฮือฮาทุกครั้งที่มีการเปิดตัว Flagship Store แห่งใหม่
.
📌 Pop-Up Store : คือร้านที่จัดขายสินค้าแบบชั่วคราว หรือเป็นเวลาสั้นๆ อาจจะเป็นบูธเล็กๆ โดยหลักการของการทำร้านแบบ Pop-Up Store คือร้านนั้นต้องมีจุดมุ่งหมายสักอย่างเช่นการเปิดตัวสินค้าใหม่ การสร้างกิจกรรมให้ลูกค้า หรือสร้างโปรโมชั่นพิเศษที่หาไม่ได้ในร้านทั่วไป เช่น Pop-Up Adidas ที่สยามพารากอนที่มีการสลักชื่อลงบนรองเท้าเป็นต้น
.
📌 Stand Alone : ร้านนอกห้าง ตั้งเดี่ยวๆ ไม่ได้ตั้งขึ้นในห้างสรรพสินค้าแบบปกติ เช่นร้าน UNIQLO สาขาพัฒนาการที่เป็นStand Alone แห่งแรกของเอเชีย โดยมีความพิเศษทางด้านพื้นที่ที่กว้างกว่าสาขาในห้างแล้ว ยังมีการจัดสรรพื้นที่เพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์ และทำให้คนรับรู้ และจดจำแบรนด์สินค้าได้มากขึ้น
.
📌 Shop in Shop : ร้านค้าที่เป็นแหล่งรวมสินค้าและบริการหลากหลายแบรนด์ในร้านเดียวให้ลูกค้าได้ซื้อ ได้ลองก่อน ข้อดีของร้านค้าแบบนี้คือลูกค้ามีสินค้าให้เลือกเยอะ จับลูกค้าได้หลายกลุ่ม ทุกเพศทุกวัย เช่นร้าน Banana IT , Power Buy

ความคิดเห็น

บทความที่มีคนอ่านมากที่สุด

แก้เกมถูกบล็อค Porn Hub ทวงคืนเว็บดัง

สำนักงานสลากฯ เพิ่มช่องทางจำหน่ายสลาก ผ่านเว็บไซต์ www.glolotteryshop.comp

พ่อมดการเงิน ภัยร้ายในวงการธุรกิจไทย

เปิดโฉมทางการ ‘เดอะมอลล์ ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ’ พร้อม 10 ไฮไลต์เด็ด ปลุกย่านบางกะปิคึก

ทำไมกาแฟสมัยนี้ ขายแก้วละ 100 บาท?