คุมกำไรโรงพยาบาลเอกชน...เรื่องดีๆ ที่ควรทำมานานแล้ว

หลายคนอยากเป็นหมอ
เพราะบอกว่ายังไงก็รวย
ยิ่งธุรกิจโรงพยาบาล
ใครเป็นเจ้าขอบอกเลยรวยขาดๆ
เพราะกำไรล้นเหลือ
และไม่มีใครต่อรองราคาค่ารักษาได้
.
ล่าสุดรัฐบาลการนำของกระทรวงพาณิชย์
บอกว่า “ต้องเข้ามาตรวจสอบ”
ว่าทำไม รพ.เอกชนถึงรวยจัง
แต่ รพ.รัฐบาลจนเอาๆ
ขนาดพี่ตูน ยังต้องวิ่งเป็นรอบที่ 2

กระทรวงพาณิชย์บอกว่า
การคุมราคายาไม่ใช่ทางออก 
จึงได้ออกประกาศ
เรื่องการแจ้งราคา หลักเกณฑ์ 
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจำหน่ายยารักษาโรค, 
เวชภัณฑ์, ค่าบริการรักษาพยาบาล,
บริการทางการแพทย์ และบริการอื่นๆ 
โดยยึด 3 หลักการสำคัญคือ 
1.ราคาโปร่งใส - เป็นธรรม 
2.ผู้บริโภคต้องมีทางเลือก 
3.การรักษาที่สมเหตุสมผล 
.
หลังจากได้เชิญตัวแทนจากรพ.เอกชน 
มาประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจ
ได้มอบหมายให้ทุกโรงพยาบาล
จัดทำรายละเอียดต้นทุนราคาซื้อและขายยา 
รวมถึงแจ้งราคาซื้อ-ขายเวชภัณฑ์ 
และราคาค่าบริการทางการแพทย์ มาให้ทราบ
เพื่อดูว่าเป็นราคาที่สอดคล้องกับต้นทุนหรือไม่ 
.
เมื่อทราบผล จะนำราคาเผยแพร่บนเว็บไซต์ 
และจัดทำ QR Code ยาแต่ละรายการ
เพื่อจัดส่งให้โรงพยาบาลไปแสดงไว้
ให้ผู้ป่วยหรือญาติสามารถตรวจสอบได้ 
และต่อไปหาก รพ.มีการเปลี่ยนแปลงราคายา
ต้องแจ้งให้กรมฯ รับทราบล่วงหน้า 15 วัน 
เพื่อจะได้นำข้อมูลมาอัพเดตให้เป็นปัจจุบัน
และต้องแจ้งให้ผู้ป่วยทราบ 
.
การดำเนินการครั้งนี้
เพื่อคุมไม่ให้โรงพยาบาลเน้นกำไรสูงสุด
เนื่องจากพบว่า รพ.เอกชนบางแห่ง
คิดราคายาสูงกว่าราคาที่ซื้อมาเป็นหลักพัน 
ถึงหลักหมื่นเปอร์เซ็นต์
ทำให้ รพ.มีกำไรสูงมาก
เรื่องดังกล่าวนี้ ทุกหน่วยงานเห็นพ้องกัน
ว่าควรมีการศึกษาต้นทุน ราคาจำหน่าย 
และกำไรจากยาและเวชภัณฑ์ของ รพ.เอกชน 
เพื่อกำหนดเพดานอัตรากำไรที่เหมาะสม
คาดว่าใน 1-3 ปีนับจากนี้ ปัญหานี้จะหมดไป
.
“ปัจจุบันมีโรงพยาบาลหลายที่
ได้ขอออกนอกระบบราชการ เป็นคลินิกพิเศษ
เพื่อการคิดค่ายา ค่ารักษาพยาบาลได้สูงขึ้น
ใกล้เคียงกับ รพ.เอกชน 
ภาครัฐต้องเข้าไปดูแลในจุดนี้ด้วย
.
ข่าวแว่วๆ ว่า ผู้ประกอบการ รพ.เอกชนบางราย
ได้ล็อบบี้ผู้ใหญ่ของกระทรวง
ไม่ให้เข้าไปยุ่งหรือปรับในเรื่องนี้ 
สมาคมโรงพยาบาลเอกชน
ได้ยื่นฟ้องศาลปกครอง
ขอให้การคุ้มครองชั่วคราว
(แต่ยังไม่มีคำตัดสินออกมา) 
เพราะกระทรวงสาธารณสุข
จะกำกับดูแลเฉพาะในเรื่อง
มาตรฐานการรักษาพยาบาล 
แต่เข้าไม่ถึงการดูแลเรื่องค่ายา 
ค่ารักษาพยาบาล 
ดังนั้น การดำเนินการครั้งนี้ จึงเป็นเรื่องใหญ่
และมอบผลประโยชน์ให้กับคนไทยแท้จริง
.
ทางภาค รพ.เอกชน
บอกว่าปัญหาจากต้นทุนสูง
เกิดขึ้นจาก 2 ส่วนรวมกัน

1.ระบบการคิดค่ารักษาพยาบาลของไทย
ไม่ได้คิดตามราคาต้นทุนจริงของโรงพยาบาล 
แต่คิดตามราคาต้นทุนของโรงพยาบาล
ซึ่งแน่นอนว่า รพ.เอกชนย่อมมีต้นทุน
สูงกว่าโรงพยาบาลรัฐบาล 
แตกต่างจากในต่างประเทศ
ที่ให้เริ่มคิดค่าบริการตามต้นทุนจริง 
โดยบวกกำไรค่ายาได้ไม่เกิน 10%, 
ค่าเอกซเรย์ ห้ามเกิน 10% จากราคาต้นทุน
หรือสามารถสั่งใบจ่ายยาตามความเหมาะสม 
ทำให้มีราคายาไม่สูงมากนัก 
.
2.โรงพยาบาลเอกชนทุกแห่ง
มีการบริการและมาตรฐานที่ไม่เท่ากัน 
การจะมีกำหนดราคากลางเท่ากันนั้น
มองว่าไม่มีความยุติธรรมต่อต้นทุน
และการบริการในแต่ละแห่ง
.
“ในธุรกิจโรงพยาบาล
หากมีการคิดกำไรตามราคายานั้น
นับว่าอันตรายเป็นอย่างมาก
เนื่องจาก รพ.จะให้บริการมากเกินความจำเป็น
เพื่อให้จ่ายยาได้จำนวนมากและมีกำไร 
แต่หากให้คิดราคาตามต้นทุนจริง
โรงพยาบาลก็จะไม่มีการชาร์จกำไรจากค่ายา” 
.
ปัญหาค่ารักษาพยาบาล รพ.เอกชนที่สูงเกินไป 
ไม่ได้มีแค่เรื่องราคายาเท่านั้น 
และการคุมราคายาไม่ใช่ทางออกที่ถูกต้อง 
โดยเฉพาะการกำหนดราคายา
จะใช้กับคนไทยเท่านั้น 
หรือให้ชาวต่างชาติก็ใช้เกณฑ์เดียวกัน 
ซึ่งหากใช้เกณฑ์เดียวกัน
จะทำให้ชาวต่างชาติมีค่ารักษาพยาบาลที่ถูก 
ส่งผลต่อดุลการค้า 
ดังนั้นจึงต้องมีความชัดเจน 
รวมถึงข้อปฏิบัติของแพทย์ พยาบาลด้วย

ขณะเดียวกันไม่ใช่มีแค่ปัญหา
ที่เกิดขึ้นจาก รพ.เอกชนเท่านั้น 
แต่ในแง่ของภาครัฐ หรือหน่วยงานเอกชนอื่นๆ
ก็ต้องปรับให้สอดรับกับมาตรการนี้ด้วย 
เช่น ธุรกิจประกันภัย 
ภาครัฐต้องเข้าไปควบคุมกำกับด้วย
ว่าปัจจุบันการคุ้มครองของประกันภัย
ให้สิทธิคุ้มครองตามความเป็นจริง
แก่ผู้ประกันตนหรือไม่ 
เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา
มีผู้ประกันตนหลายราย
ต้องจ่ายเงินส่วนต่างเพิ่มเองจำนวนมาก
.
นี่คือเรื่องจำเป็น และต้องปรบมือให้
กับการดำเนินการในครั้งนี้
เพราะเราเลือกไม่ป่วยไม่ได้
แล้วเราก็หนี่ค่าใช้จ่ายใน รพ.เอกชน
ที่แสนแพง เพราะหวังกำไรเยอะๆ ด้วยเช่นกัน
เฮ่ย! มันเป็นแบบนี้ได้ไงฟ่ะ
.
ChatTalks…คุยธุรกิจ คิดให้เป็น
www.facebook.com/chatchaitalk
Tel.092-387-1241 , Line ID : ChatTalks
Email : kittisak1241@yahoo.com

ความคิดเห็น

บทความที่มีคนอ่านมากที่สุด

เปิดที่มากว่าจะมาเป็น “รีเจนซี่” บรั่นดีไทย

‘เนื้อแท้’ ยก ‘เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์-เซเว่นอีเลฟเว่น’ ประตูบานใหญ่ เสิร์ฟสินค้าเจาะตลาดแมส

‘Sizzler’ สู้กลับ ทำ ‘สลัด Subscription’ จ่าย 749 บาท กินได้ 5 ครั้ง จุดแข็งที่สเต๊กร้านอื่นไม่มี!

‘CHAGO’ ชานมแบรนด์ใหม่ จากอาณาจักร ‘รวยไม่หยุด’ ดึง ‘ออม-กรณ์นภัส’ นั่งหุ้นส่วนด้วย