แขร์ลูกโซ่...มาทุกทีเมื่อเศรษฐกิจดิ่ง
ข่าวการจับกุมและลงโทษดารา
ที่มารีวิวสินค้า ‘เมจิกสกิน’
ผู้ผลิตภัณฑ์และจำหน่ายลดความอ้วน ‘ลีน’
ถือเป็นการทำธุรกิจหลอกลวงที่เกิดขึ้นในเมืองไทย
และเข้าข่าย ‘แชร์ลูกโซ่’ หลายๆ การกระทำ
เช่น การเปิดโรงเรียนสอนขายของให้รวย
และการบังคับให้ตัวแทนจำหน่ายต้องสั่งสินค้าตามรอบ ฯลฯ
.
‘แชร์ลูกโซ่’ ไม่ใช่เรื่องใหม่ และเป็นเคสแรก
แต่มันเป็นรูปแบบวิธีการหลอกลวง
เพื่อระดมเงินจากประชาชน
โดยจูงใจด้วยผลตอบแทนสูงเกินจริง
อ้างว่านำไปลงทุนในธุรกิจที่มีกำไรดี
บ่อยครั้งจะแฝงมากับธุรกิจขายตรง
แต่กลับไม่เน้นให้สมาชิกขายสินค้า
แต่จะให้เร่งและเน้นหาสมาชิกใหม่
เพื่อนำเงินจากรายใหม่มาจ่ายรายเก่า
เมื่อจำนวนสมาชิกมากขึ้นจนถึงจุดที่หมุนเงินไม่ไหว
ก็จะหอบเงินหนีหายไปทิ้งหนี้สินไว้เบื้องหลัง
.
คนไทยเริ่มรู้จักกลโกงแชร์ลูกโซ่
มาตั้งแต่เมื่อปี 2527 จากคดีแชร์แม่ชม้อย
ของนางชม้อย ทิพย์โส
ที่หลอกลวงให้นำเงินมาลงทุนซื้อรถขนน้ำมัน
คันละ 1.6 แสนบาทโดยประมาณ
โดยสามารถแยกลงทุนเป็นครึ่งคัน หรือ เป็นล้อ
โดยจะได้รับผลตอบแทนใน 15 วัน
ในอัตราเดือนละ 6.5 % หรือปีละ 78 %
จึงมีคนนับหมื่นหลงกลแห่นำเงินมาร่วมลงทุน
มีผู้เสียหายกว่า 16,000 ราย
รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 4.5 พันล้านบาท
ขณะที่นางชม้อยกับพวกถูกตัดสินจำคุก 154,005 ปี
.
หลังจากนั้นก็เกิดคดีคล้ายๆ กัน
แต่มาในนามแชร์ชาเตอร์
ของนายเอกยุทธ อัญชันบุตร
ที่ชักชวนให้คนนำเงินไปลงทุน
ซื้อสินค้าโภคภัณฑ์และเงินตราต่างประเทศ
มาเก็งกำไร และให้ผลตอบแทนถึงเดือนละ 9%
สูงกว่าแชร์แม่ชม้อยถึง 2.5 %
ทำให้มีคนแห่นำเงินมาลงทุนจำนวนมาก
ส่วนหนึ่งเป็นนายทหารกับนักการเมือง
แรกๆสามารถจ่ายผลตอบแทนอันงดงามได้
แต่นานไปก็ใกล้ถึงทางตัน
กลางปี 2528 นายเอกยุทธหลบหนีออกนอกประเทศ
ก่อนกลับมาอีกครั้งหลังคดีหมดอายุความ
ก่อนถูกคนขับรถสังหาร เมื่อเดือนมิ.ย. 2556
มูลค่าความเสียหาย 5.5 พันล้านบาท
.
เคสแชร์เสมาฟ้าคราม
ของเจ้าของหมู่บ้านเสมาฟ้าคราม
โครงการบ้านจัดสรรราคาถูก 700 ยูนิต
บนเนื้อที่ 320 ไร่ อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี
ที่จัดระดมเงินทุนนอกระบบขึ้น
หลังธนาคารระงับการให้สินเชื่อกับโครงการ
แต่ต่อมาเพียง 2 ปี แชร์วงนี้ก็ล้มลง
เพราะไม่มีเงินจ่ายดอกเบี้ย
โดยธนาคารเข้ามายึดทรัพย์สินที่จำนองไว้
ส่วนนายพรชัยถูกจับดำเนินคดี
มูลค่าความเสียหาย 704 ล้านบาท
.
เคสต่อมาคือ แชร์บลิสเชอร์
โดยบริษัท บลิสเชอร์อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด
ดำเนินธุรกิจในรูปการจัดสรรวันพักผ่อน
ให้สมาชิกแบบเฉลี่ยสิทธิปีละ 4 วัน 4 คืน
ตามชื่อโรงแรมหรือที่พักที่บริษัทกำหนด
ไว้ 14 แห่งทั่วประเทศ ในระยะเวลา 20 ปี
แต่ธุรกิจแท้จริงของบริษัทบลิชเชอร์
ไม่ใช่การรับสมัครสมาชิกธรรมดา
แต่เป็นการให้ไปหาสมาชิกเพิ่มให้ครบจำนวน
แล้วจะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น
ตามจำนวนสมาชิกที่หาได้
ตั้งแต่ 20-45 เปอร์เซนต์
ซึ่งต่อมามีผู้เข้าร่วมธุรกิจนี้เกือบ 3,000 คน
รวมเป็นเงินค่าเสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท
.
ถัดมาอีกนิดในปี 2557-2558
ก็มีคดีแชร์ลูกโซ่ยูฟัน
เมื่อบริษัท ยูฟัน สโตร์ จำกัด
ถูกสมาพันธ์ต่อต้านแชร์ลูกโซ่แห่งประเทศไทย
ยื่นดีเอสไอให้ตรวจสอบ ว่าอาจเข้าข่ายเป็นแชร์ลูกโซ่
พฤติกรรมเป็นลักษณะชวนให้นำเงินมาลงทุน
ตั้งแต่ 17,500 บาท จนถึง 1,750,000 บาท
รวมทั้งการลงทุนแบบเน้นซื้อสกุลเงินที่ตั้งขึ้นเอง
และเน้นซื้อสินค้าเพื่อพัฒนาตลาดแบบขยายทีม
ต่อมาจึงถูกจับกุมทลายเครือข่าย
พร้อมออกหมายจับ พล.ท.อธิวัฒน์ สุ่นปาน
ผู้บริหารยูฟันประจำประเทศไทย
คดีนี้มีผู้เสียหายทั้งหมด 2,451 คน
มูลค่าความเสียหายกว่า 356 ล้านบาท
.
ล่าสุดที่ผ่านไปเมื่อเร็วๆ นี้ก็
ก็คือเคสกรณีของ ‘ซินแสโชกุน’
หรือน.ส.พสิษฐ์ อริญชย์ลาภิศ
จากบริษัทเวลท์เอฟเวอร์ (WealthEver)
ที่ถูกตำรวจจับกุม ในข้อหาฉ้อโกงประชาชน
หลังสมาชิกบริษัทขายตรงสินค้าแห่งนี้
ถูกปล่อยทิ้งที่สนามบินสุวรรณภูมิ กว่า 1,000 คน
ภายหลังนัดหมายว่าจะพาไปเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่น
ด้วยเครื่องเช่าเหมาลำ
แต่เมื่อมาถึงกลับไม่มีเที่ยวบินดังกล่าว
.
เศรษฐกิจไม่ดีทีไร
มักมีผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของแก๊งแชร์ลูกโซ่
ในรูปแบบต่างๆ อย่างอย่างต่อเนื่อง
และมีการพัฒนารูปแบบการหลอกลวง
โดยจะดูจากพื้นฐานของเหยื่อเป็นหลัก
หากเป็นตามพื้นที่ต่างจังหวัด
ก็จะใช้พวกสินค้าเกษตรมาหลอกให้เหยื่อร่วมลงทุน
หากเป็นในเมืองรูปแบบการหลอกให้ลงทุนก็จะเปลี่ยนไป
เช่น การหลอกให้ลงทุนในเงินตราต่างประเทศ
ทองคำ ราคาน้ำมัน ไปจนถึงทัวร์ต่างประเทศ
.
วิธีการหลองลวงของธุรกิจแบบนี้
ส่วนใหญ่จะมี 7 วิธีการหลอกลวง คือ
1.ผู้ชักชวนเป็นบุคคลใกล้ชิด
2.อ้างบุคคลหรือผู้ที่มีชื่อเสียงในสังคมเข้าร่วมกิจกรรม
3.อ้างหลักฐานผลประโยชน์และเงินมหาศาลที่จะได้รับ
4.ใช้โฆษณาชวนเชื่อ
5.แสดงการลงทุนน้อยแต่ให้ตอบแทนสูง ในเวลาสั้น
6.จัดฉากการอบรมสัมมนาอย่างยิ่งใหญ่
7.พูดจาหว่านล้อมกดดันให้เหยื่อรีบตัดสินใจ
.
นี่คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ของขบวนการณ์ “แชร์ลูกโซ่”
หากความโลภไม่บังตา
ใช้สติพิจารณาข้อสังเกตทั้ง 7 ข้อนี้
ย่อมเป็นภูมิคุ้มกันให้รอดพ้น
จากการตกเป็นเหยื่อแก๊งแชร์ลูกโซ่ได้แน่นอน
เฮ่ย! มันเป็นแบบนี้ได้ไงฟ่ะ
.
ChatTalks…คุยธุรกิจ คิดให้เป็น
www.facebook.com/chatchaitalk
Tel.081-4954999 , Line ID : ChatTalks
Email : kittisak4999@hotmail.com
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็นต่อบทความนี้