เซ็นทรัล รีเทล’ ปิด ‘Tops Club’ รุกค้าส่ง ท้าชนชิงเค้กก้อนใหญ่?

หลังจากที่ “เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น” (Central Retail Corporation) เปิดตัว “โก โฮลเซลล์” (GO! Wholesale) ธุรกิจค้าส่งน้องใหม่ในไทยเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา ล่าสุดก็มีความเคลื่อนไหวการปรับพอร์ตของกลุ่ม “เซ็นทรัล รีเทล” อีกครั้ง โดย “ท็อปส์ คลับ” (Tops Club) ได้มีการส่งข้อความและอีเมลแจ้งแก่สมาชิกพรีเมียมให้ทราบว่า “ท็อปส์ คลับ” จะให้บริการถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2566 และหลังจากนี้จะปรับการให้บริการผ่านระบบออนไลน์แทน เป็นอันปิดฉากค้าปลีก “เมมเบอร์ชิปสโตร์” สาขานำร่องหลังให้บริการมาได้เพียง 1 ปีเศษเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ในรอบปีที่ผ่านมา “เซ็นทรัล รีเทล” มีการปรับทัพ-เติมพอร์ตหลายระลอกด้วยกัน ตั้งแต่รีแบรนด์ ลุยธุรกิจน่านน้ำใหม่ ไปจนถึงปรับเปลี่ยนการทำงานระหว่างทาง แม้มูลค่าตลาดอาหารในไทยจะสูงถึง 2.6 ล้านล้านบาท และยังมีโอกาสให้ไปต่ออีกมาก แต่การแข่งขันที่ห้ำหั่นกันอย่างดุเดือดอาจทำให้ “ยักษ์” ในสนามจำต้องเลือกเพื่อ “อดเปรี้ยวไว้กินหวาน” ต่อไป

ปี 2022 “ท็อปส์” (Tops) ถือวาระครบรอบ 26 ปี รีแบรนด์ครั้งใหญ่ ยกเลิกการใช้ “ซับแบรนด์” จากเดิมที่ซูเปอร์มาร์เก็ตตระกูลท็อปส์แตกไลน์ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ท็อปส์ มาร์เก็ต (Tops Market) ท็อปส์ เดลี่ (Tops Daily) และท็อปส์ ออนไลน์ (Tops Online) เพื่อกันความสับสน-เสริมแกร่งให้ง่ายต่อการจดจำของผู้บริโภคจึงมีการจัดกระบวนทัพใหม่สู่ “ท็อปส์” เพียงหนึ่งเดียว

พร้อมกันนี้ยังมีการรีแบรนด์ของเดิมให้พรีเมียมมากขึ้น โดย “เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์” (Central Food Hall) เปลี่ยนเป็น “ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์” (Tops Food Hall) เพิ่มสินค้าระดับเวิลด์คลาสทั้งไทยและต่างประเทศ รวมถึงมีการแตกไลน์พรีเมียมสโตร์แห่งใหม่ “ท็อปส์ ไฟน์ ฟู้ด” (Tops Fine Food) ประเดิมสุขุมวิท 49 เป็นสาขานำร่อง เน้นสินค้านำเข้าระดับเวิลด์คลาส การันตีว่า “ท็อปส์ ไฟน์ ฟู้ด” เป็นผู้นำเข้าเพียงหนึ่งเดียวในประเทศไทย

ปิดฉาก “แฟมิลี่ มาร์ท” แต่งตัวใหม่เป็น “ท็อปส์ เดลี่”

เดือนสิงหาคม 2566 ข่าวคราวการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจใต้ร่ม “เซ็นทรัล รีเทล” กลับมาอยู่ในกระแสอีกครั้ง หลังมีการปลดป้ายร้านสะดวกซื้ออิมพอร์ตจากแดนปลาดิบอย่าง “แฟมิลี่ มาร์ท” สู่ “ท็อปส์ เดลี่”

ในอดีต “แฟมิลี่ มาร์ท” ประเดิมสาขาแรกในไทยเมื่อปี 2535 โดยเป็นการร่วมทุนกันระหว่างบริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท โฮลดิ้ง จำกัด, บริษัท แฟมิลี่มาร์ท ประเทศญี่ปุ่น ในเครือเซซัน กรุ๊ป, บริษัท อิโตชู บริษัทการค้าระหว่างประเทศรายใหญ่ในญี่ปุ่น และบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) กระทั่งปี 2555 “เซ็นทรัล รีเทล” เข้าซื้อหุ้นจาก “สยามแฟมิลี่มาร์ท” จำนวน 49 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้นก็มีการเปิดตัวโมเดลธุรกิจใหม่ๆ เพื่อทำการตลาดให้คอนวีเนียนสโตร์ใต้ร่ม “เซ็นทรัล รีเทล” มากขึ้น


ความคิดเห็น

บทความที่มีคนอ่านมากที่สุด

อย่ากลัว Distruption เพราะมันมากาคุณแน่ๆ

“พจน์ อานนท์” หนัง Content “ต่ำ” แต่คำโปรโมท “สูง”

กางเกงยีนส์ ‘แม็ค’ ปรับธุรกิจอย่างไร ให้มากกว่าเดนิม สร้างการโตนิวไฮรอบ 7 ปี

Heineken 0.0 เบยร์ไม่มีแอลกอฮอลล์ แกกกฏโฆษณา และฉีกภาพเบียร์ในตำนาน

ต่อไปนี้ ระบบการทำธุรกิจ จะโดน Distrub