“คลัง” ออกประกาศหั่นภาษีนำเข้า BEV เงื้อนไขสูงสุด 0% มีผล 1 ม.ค.67

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศกระทรวงการคลัง ลดภาษีนำเข้า BEV หนุนมาตรการ EV 3.5 สำหรับรถราคาขายปลีกไม่เกิน 2 ล้านบาท ระบุ เงื่อนไขสูงสุดภาษีเป็น 0 มีผล 1 ม.ค.67 บีโอไอ ทยอยชี้แจงค่ายรถ มั่นใจมาตรการภาษี หนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทย

 

มาตรการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าระยะแรก (EV 3) ที่เริ่มปี 2565 ส่งผลกระตุ้นตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในไทยเต็มที่ทำให้ยอดจดทะเบียนรถใหม่เติบโตแบบก้าวกระโดด โดยในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ย.2566 อยู่ที่ 67,056 คัน เพิ่มขึ้น 7.9 เท่า เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว

 

ล่าสุดรัฐบาลประกาศ มาตรการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าระยะที่ 2 หรือ EV 3.5 ในช่วงเวลา 4 ปี (2567-2570) โดยจะเริ่มใช้ตั้งแต่เดือน ม.ค.2567 เพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าขยายตัวต่อเนื่อง และผลักดันไทยก้าวสู่การเป็นฐานผลิตชั้นนำของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค

 

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล กล่าวกับกรุงเทพธุรกิจว่า กระทรวงการคลังได้ออกประกาศที่เกี่ยวข้องกับมาตรการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าระยะที่ 2 (EV 3.5) ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบ โดยได้ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สำเร็จรูปที่นำเข้ามาทั้งคันเพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ

 

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้ชี้แจงให้ผู้ประกอบการรถยนต์เป็นที่เรียบร้อย เพื่อให้เข้าใจสิทธิประโยชน์เงินอุดหนุน การลดภาษีสรรพสามิตและภาษีนำเข้า แหล่งข่าว กล่าว

 

สำหรับประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว ลงนามโดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ณ วันที่ 28 ธ.ค.2566 รวมทั้งประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 29 ธ.ค.2566 และมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ม.ค.2567

 

ประกาศดังกล่าวกำหนดให้รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สำเร็จรูป หมายถึงรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คนแบบพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (Battery Electic Vehicle : BEV) ที่ประกอบสำเร็จรูปและนำเข้ามาทั้งคัน (Completely Built Up : CBU)

 

ทั้งนี้ กำหนดให้ลดอัตราอากรหรือยกเว้นอากรสำหรับ BEV สำเร็จรูปที่มีราคาชายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่นำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2567 ถึงวันที่ 31 ธ.ค.2568 รวม 2 ปี โดยมีเงื่อนไข ดังนี้

 

ผู้นำของเข้าที่ใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) แล้ว ยังมีอัตราอากรที่ต้องชำระไม่เกิน 40% ให้ได้รับการยกเว้นอากร

 

ผู้นำของเข้าที่ใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรภายใต้ FTA แล้วยังมีอัตราอากรที่ต้องชำระมากกว่า 40% ให้ได้รับการลดอัตราอากรลงอีก 40%

 

ผู้นำของเข้าที่ไม่ใด้ใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรี ให้ได้รับการลดอัตราอากรลงเหลือ 40%

 

นอกจากนี้ กระทรวงการคลังกำหนดเงื่อนไขให้การลตอัตราอากรหรือยกว้นอากรดักล่าวผู้นำของเข้าต้องแสตงหนังสือรับรองการแสดงการได้รับสิทธิจากกรมสรรพสามิต

 

รวมทั้งกรณีที่ผู้นำเข้าไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไซที่กรมสรรพสามิตกำหนด และกรมสรรพสามิตได้แจ้งเพิกถอนหนังสือรับรองการแสดงการได้รับสิทธิสำหรับของใดกับกรมศุลกากรแล้ว ให้ถือว่าของนั้นไม่ได้รับสิทธิลดอัตราอากรหรือยกเว้นอากรตามประกาศนี้ตั้งแต่วันนำชองเข้า

 

และผู้นำของเข้ามีหน้าที่ต้องแจ้งขอชำระค่าภาษีอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องภายใน 30 วันนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนสิทธิ

 

รวมทั้งต้องชำระค่าภาษีอากรให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจำนวนเงินคำภาษีอากร แต่ไม่ถูกตัดสิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรในการลดอัตราอากรหรือยกเว้นอากรตาม FTA ที่ได้ยื่นไว้ในขณะนำของเข้า

ความคิดเห็น

บทความที่มีคนอ่านมากที่สุด

สงครามร้านชานมไข่มุกพลิกสู่บลูโอเชี่ยน! ‘แบร์เฮาส์’ ผุด 109 สาขา ปี 71

‘HAAB’ ขายขนมไข่เดือนละ ‘3 ล้านชิ้น’ เปิดร้านมา 1 ปี เตรียมบุก ‘มาเลเซีย’ เป็นประเทศแรก

ลอรีอัล ปารีส พา “ณิชา” บินลัดฟ้าสร้างปรากฎการณ์ Walk Your Worth โชว์บนรันเวย์สุดอลังการ ใจกลางหอไอเฟล ณ กรุงปารีส

เมื่อคนใส่กางเกงยีนส์ กลายเป็นคนมี Creative Looking

มิติใหม่แห่งการเสพสื่อ เรื่องแบบนี้คุณต้องรู้