บทสรุปปรากฏการณ์สังเวียนธุรกิจ พลิกเกมโต
นับถอยหลังเตรียมส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2567 ก่อนทิ้งทวนปี มาย้อนดูปรากฏการณ์ สิ่งที่เกิดขึ้นในแวดวงการตลาดกันบ้างว่ามีเรื่องไหนร้อนแรงบ้าง
“ขั้วเพลงข้ามค่าย แกรมมี่-อาร์เอส พลิกประวัติศาสตร์คู่แข่งสู่พันธมิตร”
เส้นทางธุรกิจเพลง
2 ค่ายยักษ์ใหญ่ “แกรมมี่” และ “อาร์เอส” ถือเป็นคู่แข่งตลอดกาลกว่า 4 ทศวรรษ
เพราะไม่ว่าฝั่งไหน ออกศิลปิน แนวเพลงใดออกมา จะต้องเห็นอีกฝ่ายท้าชิงแฟนเพลง
ยอดขายทันที
ทว่า
ในยุคนี้ธุรกิจต้องรู้จักมองหาโอกาสใหม่ๆ มากขึ้น 2 ขั้วค่ายเพลง
สื่อบันเทิงจึงพลิกบทบาทคู่แข่งมาเป็น “พันธมิตร” ตั้งกิจการร่วมค้า
“อะครอสเดอะยูนิเวิร์ส”
ลงทุนฝ่ายละ 50% เท่ากัน เพื่อจัดซีรีส์คอนเสิร์ตเป็นเวลา 3 ปี ปั๊มรายได้รวม 660
ล้านบาท
“ถือเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรก
ถือว่าเหนือกว่าการเป็นคู่แข่งหรือ Beyond Enemy เกิดขึ้นได้ ที่สำคัญโอกาสแบบนี้
ร้อยปีอาจไม่เกิดเลยด้วย” ภาวิต จิตรกร แม่ทัพจีเอ็มเอ็ม มิวสิค
แห่งบมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เคยเผยเบื้องหลัง
“ปีแห่งสงครามความซ่า!”
ตลาดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ มูลค่า 2.5 แสนล้านบาท จากทุกหมวดหมู่ เช่น น้ำอัดลม ชาเขียวพร้อมดื่ม เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำผลไม้ กาแฟพร้อมดื่ม ซึ่งปี 2566 มีการฟื้นตัวต่อเนื่อง
หากย้อนไปช่วงโควิดระบาด
น้ำผสมวิตามิน หรือ “วิตามิน วอเตอร์” เติบโตร้อนแรงแซงทุกหมวด ปี 2566 ต้องยกให้
“น้ำอัดลม” เพราะค่ายเล็กใหญ่ลงสนามสู้กันคึกคัก เช่น บุญรอดบริวเวอรี่ หรือ
ค่ายสิงห์ เมื่อ “สิงห์ เลมอน โซดา” เติบโต มีการเสิร์ฟสินค้ารสชาติใหม่เติมพอร์ตโฟลิโอ
เช่นเดียวกับ “ตัน ซัน ซู” ส่งสินค้าใหม่ชิงแชร์
ค่ายโอสถสภา
ส่งชาร์ค อุเมะ โซดา ไม่มองแค่ตลาดน้ำอัดลม
แต่หวังเป็นส่วนผสมหรือมิกเซอร์เครื่องดื่มอื่นๆ ด้วย ฝั่งเจนเนอร์รัล เบฟเวอเรจ
เปิดตัว “คัมปาย” เครื่องดื่มโซดาสไตล์ญี่ปุ่นแข่ง บิ๊กคอร์ป ทีซีพี(TCP) ส่ง “เรดบูล เอเนอร์จี้โซดา” ลงสนาม
หากไปดูหน้าตู้แช่จะเห็นว่าเครื่องดื่มฟังก์ชันนอลดริงค์ทั้งวิตามิน
แบรนด์เครื่องดื่มชูกำลังแตกไลน์ “เอ็ม-150 สปาร์คกลิ้ง” แบบกระป๋อง ขอซ่าด้วย
เมื่อตลาดมีผู้ท้าชิงมากขึ้น บรรดายักษ์น้ำดำ ไม่อยู่นิ่ง ออกสินค้าใหม่ป้องตลาด
“เอ็นอาร์เอฟ-สยาม
เฮลท์ฯ เดิมพันโค่นแบรนด์โลก “ตราไก่”
ซอสพริกศรีราชาของไทยเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
แต่กลับไม่มีแบรนด์ไทยผงาดในตลาด ซ้ำร้ายเศรษฐีเวียดนาม “เดวิด ทราน”
ยังกลายเป็นฮีโร่สร้างแบรนด์ “ตราไก่” ครองตลาดซอสพริกศรีราชาหรือพริกฮาลาพิโนกว่า
90% ทำเงินมหาศาล ยิ่งกว่านั้นผู้บริโภคชื่นชอบแบรนด์จนตามซื้อสินค้าและใช้เรียกสินค้าหรือ
Generic Name ไปแล้ว
โอกาสตลาดซอสพริกศรีราชามีราว
“5 หมื่นล้านบาท” ทำให้บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด(มหาชน)หรือ
“เอ็นอาร์เอฟ” ควงบริษัท สยาม เฮลท์ กรุ๊ป จำกัด เจ้าของยาสีฟันเดนทิสเต้ สมูทอี
ร่วมทุนฝ่ายละ 50% ปั้นแบรนด์ “โอชา” สู่แบรนด์ระดับโลก (Global Brand) ภายใน 5 ตั้งเป้า “โค่นบัลลังก์” ตราไก่ของฮุย ฟง
ฟู้ดส์
นับเป็นเดิมพันใหญ่พร้อมกู้ศักดิ์ศรีสินค้าไทยมาอยู่ใต้ร่มแบรนด์สัญชาติไทยด้วย
“ดีไอแอล”ทุนอินเดียฮุบร้าน“เคเอฟซี”รับบทแฟรนไชส์ซีน้องใหม่
ร้านอาหารบริการด่วน
(QSR)แบรนด์ “เคเอฟซี”
มี 3 แฟรนไชส์ซีบริหาร ได้แก่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ปหรือซีอาร์จี
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน) และ บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด
หรือ อาร์ดี (RD)
หลายปีที่
“อาร์ดี” บริหารร้านเคเอฟซี ผลงานยัง “ขาดทุนสะสม” ทำให้บริษัทต้องการโบกมือลา
พยายามหานักลงทุนมารับช่วงต่อ ล่าสุด บริษัท Devyani International DMCC ในเครือของ Devyani International Limited
(DIL)หรือ ดีไอแอล
ประกาศ “เซ็นสัญญาลงทุนในบริษัทอาร์ดี” มูลค่าดีล 4,580 ล้านบาท
“ดีไอแอล”
ทุนอินเดียที่บริหารร้านเคเอฟซี และพิซซ่า ฮัท ของ “ยัม”(Yum! Brand) ในอินเดีย และ 1-2 ประเทศ
ซึ่งการเข้ามาลุยร้านเคเอฟซีในไทยไม่ได้มาคนเดียว ควงพันธมิตรทางการเงิน
“เทมาเส็ก” มาด้วย ซึ่งการขับเคี่ยวขยาย “ร้านไก่ทอดหมื่นล้านบาท”
จากนี้ไปคงเข้มข้น เพราะ 3 แฟรนไชส์ซีต้องแข่งเบ่งการเติบโต
เทรนด์การตลาดที่มาแรงแห่งปี
เรื่องเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ “เอไอ”
ที่นักการตลาดยกให้เป็นการติดอาวุธในปีนี้และโลกอนาคตที่จะมาช่วยงานประจำแบบเดิม
เพิ่มประสิทธิภาพในการทำตลาดมากขึ้น
อีกกระแสที่ธุรกิจให้ความสำคัญมากคือการขับเคลื่อนธุรกิจควบคู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
หรือ sustainable development เพราะวันนี้ไม่ใช่แค่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ตระหนัก “รักษ์โลก”
มากขึ้น ใช้สินค้า สนับสนุนแบรนด์ที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
สร้างผลกระทบเชิงบวกให้โลกดีกว่าเดิม ยิ่งกว่านั้น
ประเด็นดังกล่าวยังเป็นการกีดกันการค้าที่ไม่ได้มาจากมาตรการภาษีด้วย
ยุคนี้แบรนด์ไหนทำลายโลกมาก อาจมี “ราคาที่ต้องจ่าย” ในมิติทางธุรกิจมากไม่แพ้กัน
ปรากฎการณ์สะท้อนการพลิกเกมแข่งขัน มองหาโอกาสเพื่อเติบโต ส่วนปี 2567
จะเป็นอย่างไรต้องติดตาม!
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็นต่อบทความนี้