“วัตสัน” เปลี่ยนไป สั่งแฟลกชิปสโตร์ โฉมใหม่รุกตลาดความงาม
วัตสัน ขยับครั้งใหม่ ส่งโมเดล แฟลกชิปสโตร์ ดีไซน์ใหม่ พร้อมห้องปรึกษาสุขภาพส่วนตัว เจาะตลาดความงามไทย รับเทรนด์ผู้บริโภครุ่นใหม่ สนใจความงามแรง
วัตสัน
ร้านสุขภาพและความงาม ได้ขยายสาขาในประเทศไทยครบ 77 สาขาแล้ว
จากการเปิดสาขาแรกในไทยช่วงปี 2539 ที่ตึกมณียา เซนเตอร์ ก่อนใช้เวลา 27 ปี
ขยายสาขาในประเทศไทยกว่า 670 สาขา
กลายเป็นร้านค้าปลีกสุขภาพและความงามอันดับหนึ่งที่มีสาขามากที่สุดในประเทศไทย
ทั้งนี้ตามแผนวัตสันจะเปิดสาขาในไทยปีละประมาณ
50 สาขา โดยได้วางแผนว่า ภายในปี 6 จะมีสาขาในประเทศไทยรวม 1,000 สาขา
ส่วนรูปแบบการขยายสาขาขนาดพื้นที่ 150-160 ตร.ม.
มุ่งทำเลในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ สำหรับกลยุทธ์การขยายตลาด
จะมุ่งขยายผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งผ่านแอปพลิเคชัน และเว็บไซด์ของวัตสัน
เพื่อเชื่อมต่อการชอปปิงแบบไร้รอยต่อ หรือ O+O พร้อมมีฐานสมาชิกที่แข็งแกร่งในประเทศไทยกว่า 8
ล้านคน
“นวลพรรณ
ชัยนาม” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ วัตสัน ประเทศไทย กล่าวถึง
การเปิดสาขาใหม่ วัตสัน แฟลกชิปสโตร์ ใจกลางสุขุมวิท ที่ศูนย์การค้าเอ็มสเฟียร์
โดยสาขาแห่งนี้มีความแตกต่างกับทั้ง
ดีไซน์หน้าร้านใหม่ให้สอดรับกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้า
ไฮไลต์กับการจัดทำห้องปรึกษาสุขภาพส่วนตัว โดยเป็นบริการใหม่จากวัตสัน ซึ่งได้ดีไซน์พื้นที่ส่วนตัว ออกแบบมาเพื่อให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ มุ่งดูแลด้านสุขภาพที่ตรงตามความต้องการของแต่ละบุคคล
ขณะเดียวกันยังมีโซนผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน
(Sustainable Choices Products) นำเสนอสินค้าทางเลือก และการจัดวางของสินค้าในกลุ่มของความยั่งยืน “Sustainable
Choices” ที่มีส่วนผสม
และกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเน้นใช้วัสดุรีไซเคิลได้
พร้อมกันนี้ได้เปิดตัวแบรนด์ใหม่กับ
Dirty Works สินค้าใหม่สุดเอ็กซ์คลูซีฟ
เป็นผลิตภัณฑ์ความความสะอาดและดูแลผิวกาย ชื่อดังจากอังกฤษ
เข้ามาขยายตลาดในไทยอย่างเป็นทางการในสาขาแห่งนี้
นอกจากนี้ได้จัดทำพื้นที่ชำระเงินด้วยตนเอง
เป็นทางเลือกให้แก่ลูกค้าที่ต้องการระบบชำระเงินที่สะดวก และรวดเร็ว
สำหรับสาขาใหม่นี้มีเป้าหมายร่วมยกระดับประสบการณ์ชอปปิงให้แก่ลูกค้า
ให้เกิดความสนุกสนานในการเลือกซื้อสินค้ามากยิ่งขึ้น พร้อมตอบโจทย์กลุ่มคนรุ่นใหม่
และไลฟ์สไตล์แอคทีฟของผู้บริโภคในยุคนี้ ทั้งหมดต้องการร่วมตอกย้ำ
การเป็นผู้นำร้านค้าปลีกสุขภาพ และความงามในประเทศไทย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็นต่อบทความนี้