Facebook ยืนหนึ่ง! มิจฉาชีพซื้อโฆษณา หลอกลงทุน-ฉ้อโกงออนไลน์กว่า 2,500 เคส

สภาผู้บริโภคฯเผยสถิติพบความเสียหายจากแพลตฟอร์มดิจิทัลตั้งแต่มิ.ย. 2564 -เม.ย. 2567 มีร้องเรียนกว่า 3,456 เรื่อง พบเฟซบุ๊คมีมากถึง 2,539 เรื่อง จากเหตุถูกฉ้อโกงหลอกลวงจากการสั่งซื้อสินค้า จ่ายเงินไปแล้วไม่ได้รับของ ล่าสุดผนึก ‘สกมช.’ หาช่องทางสร้างพื้นที่ปลอดภัย
.
พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ  (สกมช.) เปิดเผยว่า สกมช. ได้มีการหารือกับ สภาองค์กรของผู้บริโภค และเครือข่ายผู้บริโภค ในการแก้ไขปัญหาการจัดการกับอาชญากรรมออนไลน์ ที่ปัจจุบันมิจฉาชีพได้ใช้ช่องทางโซเชียลมีเดีย หรือช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เข้ามาหลอกลวงผู้บริโภคจนส่งผลกระทบ สร้างความเสียหายเต่อผู้บริโภคเศรษฐกิจ และสังคมอย่างมาก 
.
โดยที่ผ่านมา มีการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล และ โซเซียลมีเดีย ในการหลอกให้ซื้อของออนไลน์ และหลอกให้ลงทุนซึ่งได้ใช้รูปของผู้มีชื่อเสียง  อินฟลูเอนเซอร์ และนักธุรกิจต่างๆ โดยที่เจ้าตัวไม่รู้เรื่องหรือไม่ได้ ยินยอม
.
ซึ่งแนวทางหนึ่งที่ในการแก้ไขปัญหาที่กำลังศึกษาอยู่ คือ การรวมกลุ่มของผู้เสียหายทั้งที่ถูกหลอกลวง และผู้ที่ถูกแอบอ้างจะฟ้องร้องเรียกความเสียหายต่อแพลตฟอร์มต่างๆ โดยตรง
.
“ที่ผ่านมาแม้แพลตฟอร์มต่างๆ อาจจะให้ความร่วมมือดีขึ้น แต่ยังมีความล่าช้า เพราะเมื่อมีซื้อโฆษณา หรือ ชวนคนเข้ากลุ่มไลน์ได้ ก็ยังสามารถหลอกผู้เสียหายได้ จะทำอย่างไรให้มีความร่วมมือที่รวดเร็วมากขึ้น แม้สถิติในการปิดเพจต่างๆ จะมียอดสูงขึ้น แต่ยังใช้ระยะเวลาในการปิดที่นานกว่า 2 สัปดาห์ถึงปิดเพจได้ ช่วงเวลาที่นานแบบนี้ทำให้ยังสามารถหลอกคนได้จำนวนมาก”
.
พล.อ.ต. อมร กล่าวอีกว่า สกมช. โดยศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ก็จะมีการปรับรูปแบบในการทำงานเชิงรุกมากขึ้น โดยจะดำเนินการ ปิดเว็บไซต์ และ บัญชี โซเชียลมีเดีย ที่ใช้ในการหลอกหลวง ด้วยการประสานงานกับแพลตฟอร์มต่างๆ แม้ยังไม่มีผู้เสียหาย หรือมีหมายศาลสั่งให้ปิด โดยจะมีเจ้าหน้าที่ คอยตรวจสอบมอนิเตอร์ตลอดเวลา เมื่อพบเจอเพจที่ชักชวนลงทุน หรือเพจปลอม ที่ทำรูปภาพ หรือโลโก้ ของหน่วยงานต่างๆ ไปใช้ เข้าข่ายที่จะหลอกลวง ก็จะแจ้งไปยังแพลตฟอร์ม ให้ตรวจสอบและปิดทันที โดยอาศัยกฎหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ และข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
.
ด้านนายโสภณ หนูรัตน์ หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค สภาผู้บริโภค กล่าวว่า สองหน่วยงานเห็นร่วมกันว่า พื้นที่ออนไลน์ต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัย เพื่อให้การค้าขายและทำธุรกรรมอื่นๆอย่างปลอดภัย เป็นผลดีต่อทั้งผู้ค้าขาย และผู้บริโภคด้วย
.
ซึ่งจากสถิติที่ได้รับแจ้งกรณีผู้บริโภคได้รับความเสียหายจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ตั้งแต่เดือนมิ.ย.2564 ถึง เม.ย. 2567 มีผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามากว่า 3,456 เรื่อง
.
แบ่งลักษณะปัญหาที่ผู้บริโภคพบ ได้แก่ 1. ถูกฉ้อโกงหลอกลวงจากการสั่งซื้อสินค้าผ่านเฟซบุ๊ค (Facebook) เมื่อจ่ายเงินไปแล้วแต่กลับไม่ได้รับสินค้าตามที่ตกลงซื้อไว้ รวมทั้งไม่สามารถติดต่อร้านค้าได้ 2. เมื่อจ่ายเงินซื้อสินค้าบนเฟซบุ๊คไปแล้วแต่ได้รับสินค้าหรือบริการไม่ตรงตามที่โฆษณาไว้ 3. ถูกหลอกลวงจากการสร้างเฟซบุ๊คเพจ (Facebook Fanpage) ปลอมหรือมีการชักชวนให้ทำงานหรือลงทุน และ 4. ถูกหลอกลวงจากเฟซบุ๊คเพจปลอมที่แอบอ้างเป็นหน่วยงานราชการต่าง ๆ รวมถึงร้านค้าชื่อดัง ซึ่งบางเพจมีการยืนยันตัวตน (Verified Page) กับเฟซบุ๊คแล้ว
.
โดยในจำนวน 2,539 เรื่องจากจำนวนทั้งหมดข้างต้น เฟซบุ๊คเป็นช่องทางที่มิจฉาชีพใช้ในการหลอกลวงมากที่สุด
.
ขณะที่แพลตฟอร์มอื่น ๆ ได้แก่ เอ็กซ์ (X) หรือทวิตเตอร์ ตลาดออนไลน์ (E - Marketplace) อินสตาแกรม (Instagram) ไลน์ (LINE) และติ๊กต็อก (TikTok) เป็นช่องทางที่มีผู้บริโภคได้รับความเสียหายและร้องเรียนเข้ามาที่สภาผู้บริโภค ตามลำดับ โดยสภาผู้บริโภคได้ช่วยเหลือผู้บริโภคทั้งการเตือนภัย การให้ข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคหาก ต้องการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ รวมถึงวิธีการตรวจสอบเฟซบุ๊กเพจ อีกทั้งยังได้ประสานความร่วมมือ ไปยังผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียในการหาแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาและคุ้มครองผู้บริโภคจากการใช้บริการบนแพลตฟอร์มเหล่านั้น
.
ทั้งนี้ สภาผู้บริโภคได้มีการหารือในการผลักดันนโยบายเพื่อป้องกันภัยทุจริตทางการเงิน ได้แก่ การพัฒนาแจ้งเตือนภัย ก่อนการโอนเงินไปยังหมายเลขบัญชีต้องสงสัยที่มีความเสี่ยงสูง การผลักดันให้ธนาคารชดเชยเยียวยาผู้เสียหายเจ้าของบัญชี การเร่งผลักดันมาตรการการแสดงตัวตนของผู้ขายสินค้าออนไลน์ทุกรายต่อผู้บริโภคในทุกแพลตฟอร์มดิจิทัล และการรักษาสิทธิของผู้บริโภคในการขอเปิดไปรษณียภัณฑ์ ซึ่งมีความหมายรวมถึงห่อพัสดุเพื่อตรวจสอบพัสดุต่อหน้าพนักงานได้ก่อนชำระค่าสินค้าและค่าส่ง
.
.
#กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจTech #กรุงเทพธุรกิจUpdate

ความคิดเห็น

บทความที่มีคนอ่านมากที่สุด

อย่ากลัว Distruption เพราะมันมากาคุณแน่ๆ

“พจน์ อานนท์” หนัง Content “ต่ำ” แต่คำโปรโมท “สูง”

กางเกงยีนส์ ‘แม็ค’ ปรับธุรกิจอย่างไร ให้มากกว่าเดนิม สร้างการโตนิวไฮรอบ 7 ปี

Heineken 0.0 เบยร์ไม่มีแอลกอฮอลล์ แกกกฏโฆษณา และฉีกภาพเบียร์ในตำนาน

ต่อไปนี้ ระบบการทำธุรกิจ จะโดน Distrub