‘ซีเมนส์’ หนุนสร้างอีโคซิสเต็มไทย ยึด ‘ฮับเศรษฐกิจดิจิทัล’‘ซีเมนส์’ หนุนสร้างอีโคซิสเต็มไทย ยึด ‘ฮับเศรษฐกิจดิจิทัล’.

NextGen Data Center Conference 2024 เปิดหนทางไทยสู่การเป็นดิจิทัลฮับอาเซียน จูงใจนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ เลือกไทยเป็นจุดมุ่งหมายลงทุนด้านดาต้าเซ็นเตอร์
.
ซีเมนส์ (Siemens) เปิดเวทีสัมมนา NextGen Data Center Conference 2024 โดยมีภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมเสนอแนวทางขับเคลื่อนธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ (Data Center) เตรียมผลักดันอุตสาหกรรมดิจิทัลสู่เศรษฐกิจสีเขียว พร้อมทั้งจูงใจให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ เลือกไทยเป็นจุดมุ่งหมายลงทุนและผลักดันไทยก้าวสู่การเป็นดิจิทัลฮับของภูมิภาค
.
📌 ดาต้าเซ็นเตอร์ปลุกธุรกิจดิจิทัล
.
“ตามที่นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ได้ประกาศนโยบาย Thailand Vision 2030 โดยมีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางอุตสากรรมของโลก พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่อนาคตที่ยั่งยืน ทั้งด้านการท่องเที่ยว การแพทย์ การผลิตยานยนต์ในอนาคต ฯลฯ รวมถึงการขับเคลื่อนไทยสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัล”
.
รอส คอนลอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทซีเมนส์ ประเทศไทย กล่าวเปิดสัมมนาฯ โดยอ้างอิงนโยบายของนายกฯ เศรษฐาดังกล่าว และแนะว่า การที่ไทยจะขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายนั้น ไทยจะต้องดึงดูดอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ทั้งด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ให้ได้
.
ประเทศไทยต้องทำการวิจัยและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการปรับใช้เอไอ ที่สำคัญประเทศไทยจะต้องมีเงินลงทุนสำหรับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีปริมาณมาก เพื่อสร้างศูนย์ข้อมูล (Data Center) รองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงเพื่อสนับสนุนคลาวด์คอมพิวติง (Cloud Computing) และธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
.
อาทิ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เกมมิง แอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือ เทคโนโลยีสุขภาพ เทคโนโลยีการตลาด อุตสาหกรรมหนัก ฯลฯ
.
คอนลอน ได้ยกตัวอย่าง “สิงคโปร์” ซึ่งเป็นผู้นำตลาดในอุตสาหกรรมศูนย์ข้อมูล และเป็นฐานที่ตั้งหลักของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับโลกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่มาเลเซียก็พัฒนาอุตสาหกรรมนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในภูมิภาคอาเซียนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และกลายเป็นผู้นำด้านศูนย์ข้อมูลที่กำลังเติบโตมากขึ้น
.
การขับเคลื่อนไทยสู่ผู้นำในอุตสาหกรรมนี้ บริษัทซีเมนส์พร้อมเป็นตะกร้าจัดเก็บเงินดิจิทัล ช่วยขับเคลื่อนไทยไปสู่เป้าหมายดังกล่าว บริษัทได้พัฒนาการเชื่อมโยงทางไฟเบอร์อย่างแข็งขัน โดยระบบมีอัตราการส่งข้อมูลอยู่ที่ 140 เทราบิตต่อวินาที ซึ่งถือเป็นอัตราที่เร็วมาก บริษัทมีแหล่งพลังงานไฟฟ้าและสาธารณูปโภคที่มั่นคงและปลอดภัย
.
ทั้งยังมีระบบนิเวศอุตสาหกรรมที่หลากหลาย โดยมีผู้ประกอบการ สตาร์ตอัป และบริษัทเทคโนโลยีในไทยหลายแห่งร่วมเป็นพันธมิตร ด้วยประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อหัวสูงสุดในภูมิภาค ทำให้ผู้ให้บริการคลาวด์อยากมาตั้งศูนย์ข้อมูลในไทย และเข้าถึงผู้ใช้ปลายทาง (end users) ให้มากขึ้น
.
ดังนั้น คอนลอนจึงมองว่า ประเด็นความยั่งยืน และแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน (อีเอสจี) จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยเฉพาะธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ในระดับไฮเปอร์สเกล เนื่องจากประเทศไทยและนักลงทุนทางการเงินให้ความสำคัญในด้านนี้อย่างมาก
.
“ธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ต้องหาแนวทางที่ทำให้บริษัทสามารถเปลี่ยนผ่านศูนย์ข้อมูลของตน ให้มีความยั่งยืนมากขึ้น ยืดหยุ่นมากขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น การเปลี่ยนผ่านสีเขียวถือเป็นตัวเปลี่ยนเกมสำหรับศูนย์ข้อมูลในอนาคต” คอนลอน กล่าว
.
#ฮับเศรษฐกิจดิจิทัล #ดิจิทัลฮับอาเซียน #กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจEconomic

ความคิดเห็น

บทความที่มีคนอ่านมากที่สุด

สงครามร้านชานมไข่มุกพลิกสู่บลูโอเชี่ยน! ‘แบร์เฮาส์’ ผุด 109 สาขา ปี 71

‘HAAB’ ขายขนมไข่เดือนละ ‘3 ล้านชิ้น’ เปิดร้านมา 1 ปี เตรียมบุก ‘มาเลเซีย’ เป็นประเทศแรก

ลอรีอัล ปารีส พา “ณิชา” บินลัดฟ้าสร้างปรากฎการณ์ Walk Your Worth โชว์บนรันเวย์สุดอลังการ ใจกลางหอไอเฟล ณ กรุงปารีส

เมื่อคนใส่กางเกงยีนส์ กลายเป็นคนมี Creative Looking

มิติใหม่แห่งการเสพสื่อ เรื่องแบบนี้คุณต้องรู้