ก้าวต่อไปของ ‘กรุณา บัวคำศรี’ และ โปรเจกต์ ‘TARA’ ...หากอยากสร้างความเปลี่ยนแปลง ก็ต้องหาเงินได้เอง เพื่อทำงานที่เราเชื่อมั่น.
หลังจากประกาศก่อนหน้านี้ เกี่ยวกับรายการ “รอบโลก by กรุณา บัวคำศรี” และ “รอบโลกเดลี่” ซึ่งจะยุติการออกอากาศทาง PPTV นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมนี้เป็นต้นไป
.
ทั้งนี้ กรุณา ยืนยันถึงสาเหตุการยุติรายการว่า เป็นเรื่องความจำเป็นทางธุรกิจ โดยที่ผ่านมา ได้โอกาสและการสนับสนุนแบบไม่มีเงื่อนไขจากทางผู้บริหารของสถานีมาตลอด
.
ล่าสุดวันนี้ “กรุณา บัวคำศรี” ได้เปิดเผยถึง ”ก้าวต่อไป” ของตัวเธอ และแบรนด์ “รอบโลกเดลี่” ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว (Karuna Buakamsri)
.
”ก้าวต่อไป“ ของ กรุณา และ ทีมงาน จะประกอบไปด้วย 3 งานหลัก ได้แก่
.
📌 งานที่ 1 - รายการข่าวตระกูล “รอบโลก” ทางช่องทางออนไลน์
.
กรุณา ยืนยันว่า “ข่าวคือเลือดเนื้อและลมหายใจ” ดังนั้น “รอบโลก Daily” จะยังคงดำเนินต่อไปผ่านยูทูบช่อง “รอบโลก by กรุณา บัวคำศรี” โดย จะออนแอร์ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 19:00-20:00 น. ตั้งแต่ 1 ก.ค. เป็นต้นไป
.
พร้อมเตรียมจะเปิดรายการใหม่ เป็นรายการเช้า “รอบโลก Morning” มาเสริมด้วย รวมถึงจะนำ “รอบโลก Documentary“ กลับมาอีกครั้งในช่องทางเดียวกัน
.
📌 งานที่ 2 - ก่อร่างสร้าง “TARA”
.
จากประสบการณ์การทำข่าวมายาวนาน ผ่านมาทั้งประเด็นสงครามกลางเมืองซีเรีย คลื่นอพยพเข้ายุโรปครั้งใหญ่ที่สุดในรอบทศวรรษ อุบัติภัยด้านนิวเคลียร์เชอร์โนบิลและฟุกุชิมะ การแย่งชิงที่ดินในกัมพูชา น้ำจืดขาดแคลนในเนปาล ผู้ลี้ภัยชาวโรงฮิงญาที่หนีจากการถูกปราบปราม การใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงในอินเดีย และสงครามในยูเครน
.
สิ่งที่เธอค้นพบ นอกจากความทุกข์ยากของประชาชนในเหตุการณ์ดังกล่าว โดยมากต่างถูกซ้ำเติมด้วย “Climate Crisis” หรือ “ภาวะโลกเดือด”
.
เธอเชื่อว่า Global Crisis (วิกฤติโลก) มีส่วนเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันกับ Climate Crisis (วิกฤติสภาพอากาศ)
.
“แม้เราจะทำประเด็นข่าว Climate Crisis ตลอดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ไม่ใช่ประเด็นหลักยืนพื้น เราคือตัวอย่างของคนทำข่าวที่ติดหล่มอยู่กับความเป็น Now หรือความโครมครามของปัจจุบัน
.
ไม่มีข่าวที่ให้ความสำคัญถึงอนาคตมากนัก เพราะขายไม่ได้
.
แต่ Climate Crisis ไม่ใช่ภัยคุกคามในอนาคตอีกต่อไป นี่คือภัยคุกคามที่เป็นปัจจุบัน ค่อยๆ คืบคลานเข้ามาก่อนที่จะเกิดระเบิดใหญ่และสายเกินแก้” เธอเขียนไว้แบบนั้น
.
พร้อมเผยถึงแผนงานใหม่ที่วางไว้ นั่นคือ การให้ความสำคัญกับประเด็น Climate Crisis อย่างจริงจัง
.
แต่ทั้งนี้ การจะทำข่าวประเด็น Climate Crisis อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องเป็นเรื่องท้าทายในสองประเด็น คือ
- จะใช้วิธีใดในการสื่อสาร
- จะหาเงินเพื่อทำเรื่องนี้อย่างไร
.
กรุณาเผยว่า ตัวเองเริ่มคิดเรื่องนี้แบบจริงจังหลังจากได้คุยกับเจมส์ แนชต์เวย์ (James Nachtwey) ช่างภาพสงครามชื่อดังที่ตัวเธอมีโอกาสได้ไปช่วยงานเป็นระยะเวลาสั้น ๆ
.
”เจมส์บอกเราว่า หากอยากมีพื้นที่ของการสร้างสรรค์เพื่อหวังสร้างการเปลี่ยนแปลง เราต้องเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneur) ด้วย หมายถึงเราต้องหาเงินได้เองเพื่อมาทำงานที่เราเชื่อมั่น
.
เราเก็บสิ่งที่เจมส์พูดไว้กับตัว และครุ่นคิดถึงมันเสมอในยามที่ไม่ได้วุ่นวายกับการไล่อัปเดตความเป็น Now ของข่าวสารที่ถาโถมเคลื่อนไหวไหลผ่านอย่างบ้าคลั่งในแต่ละวันมากนัก
.
เมื่อกลางปีที่แล้ว เรามีโอกาสได้เจอกับ พอล ธรรมธัชอารี จาก ttttwork และ The Studio Apollo ปัจจุบันเป็นอาจารย์ CommDe (Communication Design) คณะสถาปัตยกรรมจุฬาฯ แม้งบประมาณของเราจะน้อยนิด แต่พอลตอบตกลงทำงานให้เราอย่างเต็มใจ
.
7 เดือนเต็มหลังจากนั้น เราและพอลทำงานร่วมกันในการออกแบบแบรนด์ (Brand Identity)
.
งานในช่วง 2 เดือนแรกเป็นงานของเรา สิ่งที่เราต้องทำคือการตอบคำถาม 35 ข้อ หลักใหญ่ใจความที่ต้องตอบให้ได้แบบชัดเจนคือ
.
เราคือใคร เรากำลังจะทำอะไร และเราทำเช่นนั้นเพื่อใคร
.
หลังคำตอบชัดเจน กระบวนการออกแบบเริ่มขึ้น ก่อนจะเป็นที่มาของการก่อกำเนิดแบรนด์ที่มีชื่อว่า TARA”
.
💧 ทำไมต้องเป็น “TARA”
.
กรุณา อธิบายว่า “TARA” แปลว่า “น้ำ” น้ำคือสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับหล่อเลี้ยงสรรพชีวิต แต่กำลังเหือดหายไปในหลายพื้นที่ของโลก
.
โดย ”TARA“ คือ ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการคนปัจจุบันของกรีนพีซ (Greenpeace) ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
.
”ธารา บัวคำศรี เป็นลูกคนแรกของพ่อ ในอีกความหมาย TARA จึงเป็นการกลั่นกรองความรักและผูกพันทั้งหมดที่เรามีต่อพ่อ ผูกโยงไว้จนกว่าเราจะได้พบกันอีกครั้ง
.
แบรนด์ “TARA” มีโลโกเป็นดอกเดซี่สี Red Dahlia ซึ่งเป็นสีที่ถูกออกแบบมาสำหรับแบรนด์โดยเฉพาะ
.
เดซี่เป็นพันธุ์ไม้ที่ทนทานและดูแลรักษาง่าย เมื่อถูกตัด เดซี่จะแตกกิ่งก้านและผลิดอกใหม่ ความหมายของ เดซี่สีเรด ดาเลีย ของ ธารา จึงคือ ความเรียบง่ายและทนทาน ผสมผสาน พลังการต่อสู้อย่างไม่ยอมแพ้
.
“TARA” คือ แบรนด์สินค้าที่คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างรอบคอบและรบกวนสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยสินค้าหลักจะเป็นสินค้าที่จำเป็น (Essential) ผ่านการออกแบบ (Design) เพื่อคุณภาพที่ดีและใช้งานได้จริง“
.
💧 ภารกิจหลักของ “TARA”
.
ประการแรกคือ การสร้างรายได้ เพื่อนำผลกำไรกลับมาสนับสนุนการทำข่าวและสารคดีเกี่ยวกับ Climate Crisis อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
.
ภารกิจที่ 2 ของ “TARA” คือ เป็นเครื่องมือในการรณรงค์เรื่องการใช้ทรัพยากรโลกอย่างรอบคอบและคุ้มค่า ผ่านผลิตภัณฑ์ที่ถูกออกแบบอย่างใส่ใจ
.
📌 งานที่ 3 - งานที่ร่วมทำกับพันธมิตร
.
เธอเผยว่า ด้วยความที่ภูมิทัศน์สื่อเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การมีพันธมิตร (Partner) ที่มีแนวคิดตรงกันจะเป็นสิ่งที่จะทำให้ไปถึงจุดหมายได้ จึงมีแผนจะปั้นโปรเจกต์อื่นๆ ตามมา และจะเปิดเผยหลังจากนี้
.
ที่มา : https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10160134693161080&id=581756079
.
.
#กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจLifestyle
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็นต่อบทความนี้