กสทช.- ค่ายสื่อ ลุยถอดบทเรียนใหญ่ ‘ทีวีดิจิทัล’ ฝ่าคลื่นดิสรัป รอด - ไม่รอด!

กสทช.ผนึกกำลังครั้งประวัติศาสตร์กับสมาคมทีวีดิจิทัล และทีวีสาธารณะทุกช่อง จัดงาน “1 ทศวรรษทีวีดิจิทัล” Beyond the Next Step เสวนาใหญ่ระดมสมองบุคคลในแวดวงการโทรทัศน์ และผลิตคอนเทนต์ระดับโลก กว่า 20 คน ร่วมแสดงวิสัยทัศน์อนาคตทีวีดิจิทัลในฐานะ “โทรทัศน์แห่งชาติ” ก่อนและหลังสิ้นสุดในอนุญาตปี 2572 เจาะลึก Soft Power สายคอนเทนต์ละครซีรีส์ และวาไรตี้ในระดับโลก

ถือเป็นการรวมพลครั้งสำคัญ เมื่อ “กสทช. - คนทีวี” ร่วมมองอนาคต “ทีวีดิจิทัล” หลังสิ้นสุดใบอนุญาต 2572 พร้อมเจาะลึกซอฟต์พาวเวอร์ คอนเทนต์

นายสุภาพ คลี่ขจาย นายกสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ทีวีดิจิทัลภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ได้ออกอากาศในระบบดิจิทัลภาคพื้นดินมาเป็นระยะเวลา 10 ปี ในปีนี้ทางสมาคมฯ ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลภาคธุรกิจ และผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ดิจิทัล ภาคสาธารณะทุกช่องโดยการสนับสนุนจาก กสทช. มีความเห็นร่วมกันในการจัดงาน “1ทศวรรษทีวีดิจิทัล”ภายใต้แนวคิด Beyond the Next Step ในวันพุธ ที่ 28 สิงหาคม 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค

สำหรับกิจกรรมและงานเสวนา “1 ทศวรรษทีวีดิจิทัล” เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันครั้งแรก ในประวัติศาสตร์วงการโทรทัศน์ไทย ระหว่างสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) กสทช.รวมพลังช่องสมาชิกทีวีดิจิทัลประเภทธุรกิจทั้ง 15 ช่อง และทีวีดิจิทัลสาธารณะ 5 ช่อง รวมทั้งแม่ทัพบุคลากรคนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทีวี ทั้งผู้บริหารสถานี และผู้ผลิตรายการมารวมตัวกันครั้งใหญ่

ทั้งนี้ วางเป้าหมายให้งาน “1ทศวรรษทีวีดิจิทัล” ภายใต้แนวคิด “Beyond the next step” แสดงศักยภาพในปัจจุบัน และอนาคตของการเป็น “โทรทัศน์แห่งชาติ” สื่อหลักที่เข้าถึงคนไทยแบบไม่มีค่าใช้จ่ายอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม ซึ่งมีบทบาทต่อความเป็นไปในสังคม และเป็นแพลตฟอร์มหลักของคอนเทนต์ที่เป็น Soft Power อย่างแท้จริง

นอกจากนี้ ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในบทบาท และภารกิจของ กสทช.กับทีวีดิจิทัล 20 ช่องในระยะเวลาที่ผ่านมา 10 ปี และการมองทิศทางอนาคตในระยะต่อไปอีกประมาณ 5 ปี ก่อน และหลังใบอนุญาตทีวีดิจิทัลภาคเอกชนจะสิ้นสุดในปลายเดือนเมษายน ปี 2572 เป้าหมายเพื่อให้สังคมไทยได้ตระหนักรู้ถึงบทบาท และภารกิจของทีวีดิจิทัล ที่ยังคงทำหน้าที่สื่อสารมวลชนหลักของประเทศ ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของทีวีดิจิทัลอย่างมากในหลายด้าน ท่ามกลางพฤติกรรมของผู้ชมเปลี่ยนไป มีทางเลือกในการรับข่าวสาร และความบันเทิงมากขึ้นทางโซเชียลมีเดีย

ทว่า ผู้ประกอบการ และผู้ปฏิบัติงาน ของทีวีดิจิทัลภาคพื้นดิน 20 ช่อง ยังคงยืนหยัดภารกิจการทำหน้าที่ “โทรทัศน์แห่งชาติ”ในฐานะสื่อหลักของประเทศ ที่สังคมยังให้ความไว้วางใจได้อย่างต่อเนื่องบนความรับผิดชอบสูงสุดต่อสังคม”

ในงานยังมีการแสดงบูธ 14 บูธ เช่น บทบาทและภารกิจช่วง 10 ปี ที่ผ่านมาของสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล(ประเทศไทย)ที่เป็นองค์กรวิชาชีพของผู้ประกอบการช่องทีวีดิจิทัลภาคธุรกิจ 15 ช่อง กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์  การแสดงเทคโนโลยีบรอดคาสติ้งช่องทีวีดิจิทัล ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม การเสวนาครั้งประวัติศาสตร์มีบุคคลสำคัญในระดับประเทศ และวงการโทรทัศน์ มาร่วมเสวนา และแสดงวิสัยทัศน์ในมุมมองต่างๆ มากกว่า 20 คน โปรแกรมอัดแน่น เนื้อหาครอบคลุมในเชิงนโยบายทิศทางทีวีดิจิทัล และคอนเทนต์ในรูปแบบต่างๆ ที่เป็นซอฟต์พาวเวอร์ ดังนี้ 

Chapter 1 : ทิศทางทีวีดิจิทัลหลังสิ้นสุดใบอนุญาตปี 2572

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ 2 ท่าน คือ ศาสตราจารย์คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช.และ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช.ด้านกิจการโทรทัศน์ จะมาแสดงวิสัยทัศน์อนาคตของทีวีดิจิทัลในฐานะ “โทรทัศน์แห่งชาติ” หลังสิ้นสุดใบอนุญาตในปี 2572 รวมทั้งอดีตกรรมการ กสทช. ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ จะมาร่วมเสวนามอง Ecosystem ที่ส่งเสริมกิจการโทรทัศน์ให้อยู่รอดต่อไป

วิทยากรประกอบด้วย สุภาพ คลี่ขจาย นายกสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล(ประเทศไทย) วัชร วัชรพล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด(ไทยรัฐทีวี) ถกลเกียรติ วีรวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบมจ.เดอะวันเอ็นเตอร์ไพรส์(ช่อง ONE31,GMM25) ฉัตรชัย ตะวันธรงค์ อุปนายกฯสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล(ประเทศไทย)

ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ นักวิชาการอิสระด้านโทรทัศน์ รัญชิตา ศรีวรวิไล ผู้อำนวยการธุรกิจมีเดียบริษัท นีลเส็น ประเทศไทย จำกัด เอกชัย ภัคดุรงค์ หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านกลยุทธ์องค์กร บมจ.ไทยคม Nick Chuah กรรมการผู้จัดการ APAC บริษัท INVIDI 

Chapter 2 : Cont ent is King 
วิทยากรประกอบด้วย นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ แสดงวิสัยทัศน์หัวข้อ Soft Power พลังเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เขมทัตต์ พลเดช นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

Vision Stage อนาคตของละครซีรีส์ไทย ไปไกลได้แค่ไหน
ณิธิภัทร์ เอื้อวัฒนกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท มาสเตอร์วัน วิดีโอโปร จำกัด และอดีตอนุกรรมการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ ด้านภาพยนตร์ ละคร ซีรีส์ และ แอนิเมชัน ปิยะรัฐ กัลย์จาฤก รองประธานกรรมการบริหารด้านงานสร้างสรรค์บริษัท กันตนากรุ๊ป จำกัด(มหาชน) ผู้สร้างซีรีส์ “สืบสันดาน” ที่มีเรตติ้งอันดับหนึ่งบนแพลตฟอร์ม NETFLIX เอกชัย เอื้อครองธรรม Ambassador for Thailand, Asian Academy Creative Awards of Singapore

Vision Stage Variety Content 
ณฐกฤต วรรณภิญโญ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ทีวีธันเดอร์ จำกัด(มหาชน) วิบูลย์ ลีรัตนขจร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม เซิร์ซ เอ็นเตอร์เทนเมนท์

Vision Stage อนาคต “ข่าว” ในผังโทรทัศน์ไทย
เทพชัย หย่อง ที่ปรึกษาฝ่ายข่าวภาษาอังกฤษ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส หัวข้อ ทางเลือกทางรอดของคนข่าวทีวีท่ามกลางพายุใหญ่ ผศ.ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรณีศึกษา Transmedia นวัตกรรมเล่าข้ามสื่อ

ความคิดเห็น

บทความที่มีคนอ่านมากที่สุด

อย่ากลัว Distruption เพราะมันมากาคุณแน่ๆ

“พจน์ อานนท์” หนัง Content “ต่ำ” แต่คำโปรโมท “สูง”

กางเกงยีนส์ ‘แม็ค’ ปรับธุรกิจอย่างไร ให้มากกว่าเดนิม สร้างการโตนิวไฮรอบ 7 ปี

Heineken 0.0 เบยร์ไม่มีแอลกอฮอลล์ แกกกฏโฆษณา และฉีกภาพเบียร์ในตำนาน

ต่อไปนี้ ระบบการทำธุรกิจ จะโดน Distrub