เศรษฐกิจ-กำลังซื้อทรุด ฉุดกำไร ‘เซ็น’ ร้าน ‘อากะ’ เจอคู่แข่งหมาล่าแย่งตลาด

ธุรกิจ “ร้านอาหาร” มีมูลค่านับแสนล้านบาท เต็มไปด้วยทางเลือกมากมาย ทั้งของคาว ของหวาน ร้านอาหารไทย ญี่ปุ่น ตะวันตก เกาหลี ร้านอาหารปิ้งย่าง ชาบูชาบู บุฟเฟต์ ฯลฯ ซึ่งแน่นอนมาพร้อมกับการแข่งขันที่รุนแรง และปี 2567 นี้ ที่เศรษฐกิจชะลอตัว กำลังซื้อเปราะบาง ทำให้ผลประกอบการของบางร้านแบรนด์ดัง หดตัว
.
ยุพาพรรณ เอกสิทธิกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบัญชีและการเงิน บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลประกอบการของบริษัทไตรมาส 3 มีรายได้ 1,019 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15 ล้านบาท หรือ 1% จากช่วงเดียวปีก่อน ส่วนกำไรสุทธิ 23 ล้านบาท “ลดลง 43%” และภาพรวม 9 เดือน รายได้ 3,055 ล้านบาท เติบโต 6% กำไรสุทธิ 39 ล้านบาท “ลดลง 66%”
.
ปัจจัยที่มีผลต่อยอดขายไตรมาส 3 เป็นเพราะร้านค้าเดิมเผชิญกำลังซื้อผู้บริโภคที่ชะลอตัว ขณะที่ “ต้นทุน” ในไตรมาส 2 อยู่ในช่วงขาขึ้นหรือพีค และยังมีตัวแปรจากร้านอาหารที่เป็น “แฟรนไชส์” ต้อง ปิดตัวลงในบางทำเล แม้บริษัทจะปรับเปลี่ยน เปิดร้านอาหารใหม่ในทำเลที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างการเติบโตก็ตาม
.
นอกจากนี้ยังเป็นปีที่บริษัทเน้นปรับโฉมร้านอาหารแบรนด์ต่าง ๆ รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ การรีเฟรชบางแบรนด์เพื่อให้สอดรับกับ Journey ของลูกค้าด้วย
.
ที่สำคัญร้านอากะ (AKA) หนึ่งในคีย์แบรนด์ เผชิญการแข่งขันของ “ร้านอาหารประเภทหม้อร้อนหมาล่า” เข้ามาแย่งตลาดด้วย
.
“กำไรไตรมาส 3 ย่อตัวลง เพราะเจอผลกระทบค่อนข้างมาก ทั้งกำลังซื้อผู้บริโภคถดถอยด้วย แต่คาดการณ์ไตรมาส 4 ธุรกิจร้านอาหารจะฟื้นตัว เพราะเข้าสู่ไฮซีซั่น เป็นช่วงที่มีการท่องเที่ยว ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ตลาดน่าจะกลับมาได้”
.
ปัจจุบัน เซ็น คอร์ปอเรชั่นฯ มีร้านอาหารในพอร์ตโฟลิโอ 11 แบรนด์ 323 สาขา โดยบริษัทดำเนินการเอง 181 สาขา แฟรนไชส์ ในประเทศ 130 สาขา และแฟรนไชส์ในต่างประเทศ 12 สาขา เช่น ร้านอาหารญี่ปุ่นเซ็น 56 สาขา ปิ้งย่างอากะ 56 สาขา ตำมั่ว 81 สาขา เขียง 52 สาขา เป็นต้น
.
สัดส่วนรายได้มาจากแบรนด์เซ็นมากสุด 37% ตามด้วยอากะ 28% และออน เดอะ เทเบิล 17% และที่น่าสนในคือ “อากะ” มีสัดส่วนรายได้ลดลงจากปีก่อนอยู่ที่ 34% สาเหตุหลัก เพราะร้านอาหารประเภทชาหม้อร้อนหมาล่าเข้ามาแบ่งเค้ก
.
สำหรับแผนงานไตรมาส 4 ต่อเนื่องปี 2568 จะห้ความสำคัญกับการขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์และเจาะต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีร้านอาหาร 12 สาขา เช่น ตำมั่ว ที่ลาว 1 สาขา ตำมั่ว ที่มาเลเซีย 1 สาขา ออน เดอะ เท เบิล กัมพูชา 3 สาขา เขียง ที่ญี่ปุ่น 1 สาขา เป็นต้น โดยเร็ว ๆ นี้ จะเปิดร้านเขียงที่ฟิลิปปินส์ 2 สาขา และลาว 1 สาขา
.
ส่วนธุรกิจอื่น เช่น การเข้าลงทุนใน คิงมารีน ฟู้ดส์ และได้สร้างโรงงานเพื่อบริหารจัดการการนำเข้าวัตถุดิบ ซึ่งปีหน้าคาดว่าจะเดินเครื่องการผลิตสินค้าต่าง ๆ เพื่อสร้างรายได้ และยังมองโอกาสในการรุกธุรกิจอาหารพร้อมปรุง (Ready to Cook : RTC) ปีหน้าคาดการณ์ทำรายได้แตะ 700 ล้านบาท จากปีนี้คาดปิดที่ 565 ล้านบาท 
.
ส่วนเทรดดิ้ง นอกจากผลิตซอสปรุงรสแล้ว จะรับจ้างผลิตสินค้า (โออีเอ็ม) และยังจับมือพันธมิตรค้าปลีกในลาว kokkok เพื่อจำหน่ายสินค้าด้วย จากปัจจุบันมีความร่วมมือในฐานแฟรนไชส์ร้านอาหาร 10 สาขา

ความคิดเห็น

บทความที่มีคนอ่านมากที่สุด

แก้เกมถูกบล็อค Porn Hub ทวงคืนเว็บดัง

สำนักงานสลากฯ เพิ่มช่องทางจำหน่ายสลาก ผ่านเว็บไซต์ www.glolotteryshop.comp

พ่อมดการเงิน ภัยร้ายในวงการธุรกิจไทย

เปิดโฉมทางการ ‘เดอะมอลล์ ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ’ พร้อม 10 ไฮไลต์เด็ด ปลุกย่านบางกะปิคึก

ทำไมกาแฟสมัยนี้ ขายแก้วละ 100 บาท?