เปิดเหตุผล ยักษ์ใหญ่ ‘ชาร์ป’ รีเทิร์นรุกตลาดไทยรอบ 10 ปี


‘ชาร์ป’ กลับมารุกตลาดไทยอีกครั้งในรอบ 10 ปี พร้อมปรับโฉมดีไซน์ใหญ่ในรอบ 50 ปี ขยายไลน์สินค้า ย้ำเป้าหมาย รักษาแชมป์เบอร์หนึ่งในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก
.
แบรนด์ชาร์ป (Sharp) ได้อยู่ในตลาดประเทศไทยมาเป็นเวลา 52 ปี โดยมีฐานโรงงานผลิตสินค้าในประเทศไทย กลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงงานฉะเชิงเทรา และโรงงานที่กิ่งแก้ว เพื่อรองรับทำตลาดในไทยและส่งออกไปในต่างประเทศ สินค้าแรกที่ผลิตในประเทศไทยเป็นกลุ่มหม้อหุงข้าว ที่ผลิตมาเป็นระยะเวลากว่า 40 ปี
.
แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ชาร์ป แบรนด์ญี่ปุ่น ได้ห่างหายการทำตลาดในประเทศไทย ท่ามกลางการเข้ามาของแบรนด์ต่างๆ ที่รุกทำตลาดอย่างหนัก จนถึงในปี 2568 ที่ชาร์ปประกาศแผนกลับมารุกทำตลาดในไทยครั้งใหญ่
.
นายวิโรจน์ ทานัชฌาสัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กรุงไทยการไฟฟ้า จำกัด กล่าวว่า ภาพรวมตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กในปี 2568 มีความท้าทายจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะถดถอย และเรื่องหนี้ครัวเรือนมีผลกระทบต่อกำลังซื้อของกลุ่มลูกค้า ทำให้ประเมินว่า ตลาดรวมจะมีการขยายตัวที่ระดับ 1% 
.
ขณะเดียวกันตลาดมีแรงกดดันจากการเข้ามาของแบรนด์จากประเทศจีนในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กเช่นกัน และอาจกำหนดราคาสินค้าที่ต่ำกว่าแบรนด์จากประเทศอื่นๆ ประมาณ 50% ซึ่งแบรนด์จากจีนเข้ามาทำตลาดในไทยกว่า 10 ปีแล้ว ส่วนนโยบายของ ชาร์ป ไม่ได้เน้นแข่งขันในเรื่องราคาสินค้า และเน้นเป็นแบรนด์ที่เน้นนำเสนอทางด้านคุณภาพจากประเทศญี่ปุ่น 
:: การรีเทิร์นใหญ่รอบ 10 ปีของชาร์ป มุ่งเป้ารักษาแชมป์เบอร์หนึ่ง ::
แผนของแบรนด์ชาร์ป ในปี 2568 ได้กลับมาทำตลาดในไทยครั้งใหญ่ในรอบ 10 ปี ภายหลังก่อนหน้านี้ให้น้ำหนักกับการขยายช่องทางจำหน่ายสินค้ารวมถึงมุ่งพัฒนาดีไซน์สินค้าที่ปรับจากเทรดดิชั่นนอล ให้มีดีไซน์ที่ทันสมัยมากขึ้น ทั้งหม้อหุงข้าว เครื่องน้ำอุ่นและพัดลม อีกทั้งดีไซน์ไม่ได้เน้นเฉพาะด้านฟังก์ชันเท่านั้น แต่ปรับการดีไซน์ให้สอดรับการเป็นเฟอร์นิเจอร์ในบ้านของกลุ่มลูกค้า ถือเป็นการปรับดีไซน์สินค้าครั้งใหญ่ในรอบกว่า 50 ปี เพื่อขยายฐานกลุ่มใหม่ๆ และกลุ่มเจน Z
.
อีกทั้งต้องการร่วมตอกย้ำภาพลักษณ์แบรนด์ญี่ปุ่น โดยบริษัทที่มีฐานการผลิตในประเทศไทย ผ่านการมีโรงงาน 2 แห่งในไทย ทั้งที่ฉะเชิงเทราและกิ่งแก้ว มีการส่งออกหลักสู่ตลาดในภูมิภาคอาเซียน อาทิ เวียดนาม อินโดนีเซีย เมียนมา ลาว เป็นต้น ถือเป็นแบรนด์ที่เป็นผู้นำเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กในไทย 
.
ทั้งนี้ในปัจจุบัน ชาร์ปในผู้นำกลุ่มหม้อหุงข้าว ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 40% จากตลาดที่มีมูลค่าประมาณ 4,000 ล้านบาท ส่วนพัดลม ครองส่วนแบ่งการตลาดอันดับสอง อยู่ประมาณ 21% ถือว่ามีส่วนแบ่งการตลาดไม่ห่างมากนักจาก แบรนด์ผู้นำตลาด ซึ่งตลาดรวมกลุ่มพัดลม มีมูลค่าประมาณ 7,000 ล้านบาท หรือมีจำนวนประมาณ 12 ล้านตัวต่อปี 
.
ส่วนเครื่องทำน้ำอุ่น เซกเมนต์ที่เจาะตลาดกลางขึ้นไป แบรนด์สามารถครองผู้นำทางการตลาดเช่นกัน ทางด้านตลาดเตารีดไอน้ำ ตลาดรวมมีมูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยได้เข้ามาทำตลาดเตารีดไอน้ำครั้งแรก จากที่ผ่านมาเน้นทำตลาดเตารีดแห้ง 
:: ชาร์ปปรับดีไซน์จากเทรดดิชั่นนอลมุ่งทันสมัยมากขึ้น ::
แผนการนำเสนอสินค้าในปี 2568 ได้เตรียมนำเสนอสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กเข้ามาทำตลาดรวม 5 กลุ่มหลักประกอบด้วย
• พัดลม SHARP ขนาด 18 ดีไซน์ใหม่ 
• หม้อหุงข้าว SHARP CUBE รุ่น 1 ลิตร ปรับจากรูปแบบหม้อหุงข้าวใหม่ สู่หม้อหุงข้าวสี่เหลี่ยม เน้นดีไซน์มินิมอล 
• หม้อทอดไร้น้ำมัน SHARP รุ่น 4.2 ลิตร , 6.8 ลิตร และ 7 ลิตร 
• เตารีดไอน้ำ SHARP 3 รุ่น โดยได้ขยายรุกสู่ตลาดเตารีดไอน้ำแบบเต็มรูปแบบ เตารีดไอน้ำSHARP 3 รุ่นใหม่ รุ่น 1,800 วัตต์ (EI-S300)  2,000 วัตต์ ( EI-S301)  และ 2,400 วัตต์ (EI-S302) 
• เครื่องทำน้ำอุ่น SHARP รุ่น MODI (โมดี้) 3,500 วัตต์ และ 4,500 วัตต์ ที่ได้ปรับดีไซน์เครื่องทำน้ำอุ่นครั้งใหญ่ เน้นความมินิมอล 
ทั้งนี้ประเมินว่าจากแผนการตลาดที่วางไว้ จะทำให้บริษัทสามารถสร้างยอดขายโดยรวมขยายตัว 5% ถือเป็นการขยายตัวเท่ากับปีก่อน ที่สร้างยอดขายรวมประมาณ 6,000 ล้านบาท พร้อมทำให้แบรนด์ชาร์ป สามารถรักษาผู้นำในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กของประเทศไทยได้ต่อไป
.
ทางด้านแผนการตลาดได้เตรียมงบการตลาดไว้ 60 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50% จากปีก่อน ในการเร่งสร้างแบรนด์และทำกิจกรรมส่งเสริมการขาย รวมถึงโปรโมชันตลอดปี พร้อมกับเร่งขยายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น รวมถึงการมุ่งบริหารต้นทุนภายในองค์กร โดยในปัจจุบันต้นทุนต่างๆ มีการปรับขึ้นประมาณ 5% แต่บริษัทยังมุ่งบริหารต้นทุน เพื่อทำให้ราคาสินค้าอยู่ในระดับเท่าเดิม
.
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านของประเทศไทย ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2568 กลุ่มสินค้าที่ขายดีจะเป็นพัดลม จากการเข้าสู่ฤดูร้อนประจำปี ซึ่งชาร์ปมีพัดลมแบบธรรมดาเป็นสินค้าหลัก แต่เซกเมนต์พัดลมไอน้ำ ชาร์ปไม่เคยเข้ามาทำตลาด แต่มองว่ามีโอกาสและอยู่ระหว่างการศึกษา

ความคิดเห็น

บทความที่มีคนอ่านมากที่สุด

Heineken 0.0 เบยร์ไม่มีแอลกอฮอลล์ แกกกฏโฆษณา และฉีกภาพเบียร์ในตำนาน

ครั้งแรกในไทย KFC คอนเซ็ปต์ใหม่ “Quick & Easy” ตอบโจทย์ Digital lifestyle ยุคใหม่ นำร่องแห่งแรกที่ “ท่าวังหลัง” .

‘HAAB’ ขายขนมไข่เดือนละ ‘3 ล้านชิ้น’ เปิดร้านมา 1 ปี เตรียมบุก ‘มาเลเซีย’ เป็นประเทศแรก

วงการหนังสือโตต่อ แต่ต้นทุนก็สูงไม่หยุด! “PUBAT” ชี้ “นิยายวาย” พุ่งแรง 45% แต่ภาพใหญ่ยังต้องพึ่งรัฐอีกมาก

ธุรกิจขนส่งพัสดุ แข่งส่งด่วนไม่สะใจ ตอนนี้แข่ง "พรีเซ็นเตอร์" กันแล้ว