จากดีลประวัติศาสตร์ 2 แสนล้าน บิ๊กซี ยุคเจ้าสัวเจริญ เปลี่ยนไปอย่างไร?


เจาะอาณาจักรค้าปลีก บิ๊กซี ภายใต้เจ้าสัวเจริญ พลิกค้าปลีกในรอบเกือบ 10 ปีอย่างไร เมื่อโจทย์ลูกค้าและการแข่งขันไม่เหมือนเดิม
.
สำรวจธุรกิจค้าปลีกไทย มีมูลค่ากว่า 4.4 ล้านล้านบาท จากการประเมินของ สมาคมผู้ค้าปลีกไทย และคาดว่าจะเติบโต 3-5% เป็นการเติบโตแบบไม่สมดุล และเป็นการค่อยๆ ฟื้นตัว ส่วน "ศูนย์วิจัยกสิกรไทย" ประเมินในปีนี้ค้าปลีกไทย จะมียอดขายรวม 4.25 ล้านล้านบาท เติบโต 3% ถือว่าอัตราต่ำสุดในรอบ 4 ปี แรงกระทบหลักมาจากเศรษฐกิจ และกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ให้ความระมัดระวังในการใช้จ่าย และค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น จากราคาสินค้าต่างๆ รวมถึงการเข้ามาของสินค้าหลากหลายรายการจากประเทศจีน ที่มุ่งทำตลาดผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ต่างได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้บริโภคคนไทยมากขึ้น มีผลต่อผู้ประกอบไทยทุกกลุ่ม
.
รวมถึงส่งผลต่อเนื่องไปยังตลาดการลงทุนในตลาดหุ้นไทย และ บิ๊กค้าปลีกรายใหญ่ในประเทศกับ “บิ๊กซี” ที่มีแผนระดมทุนทุนในตลาดหุ้นไทย เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ธุรกิจ และใช้สำหรับการขยายลงทุนไปในต่างประเทศ ต้องชะลอแผนไอพีโอออกไปก่อน
.
📌ย้อนอดีต จุดเริ่มต้นกลุ่มเซ็นทรัล - คาสิโน กรุ๊ป เปลี่ยนมือสู่ เจ้าสัวเจริญ
.
บิ๊กซี ที่อยู่ในตลาดของประเทศไทย มาตั้งแต่ปี 2537 ภายใต้การบุกเบิกของเซ็นทรัล และ กลุ่มอิมพีเรียล ผนึกกำลังกัน ต่อมาเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ กระทบต่อกลุ่มเซ็นทรัล จำเป็นต้องขายหุ้นให้แก่ กลุ่มคาสิโน กรุ๊ป ยักษ์ใหญ่จากประเทศฝรั่งเศส เข้ามาถือหุ้นใหญ่ หลังจากนั้นกลุ่มคาสิโน กรุ๊ป ได้เดินหน้าขยายธุรกิจด้วยการเข้าไปซื้อ คาร์ฟูร์ ห้างค้าปลีกรายใหญ่ในไทย พร้อมปรับเปลี่ยนทุกสาขาให้เป็น บิ๊กซี ส่งผลให้ บิ๊กซี มีสาขาทั้งหมดในไทยกว่า 100 สาขา เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
.
แต่การทำธุรกิจ มีทั้งโอกาสและความเสี่ยงเสมอ! ทำให้ช่วงปี 2559 กลุ่ม คาสิโน กรุ๊ป ประสบปัญหาทางการเงิน จากการขาดสภาพคล่อง จึงจำเป็นต้องขายธุรกิจค้าปลีก บิ๊กซี ทั้งในประเทศไทย ลาว และเวียดนาม สำหรับไทย ช่วงเวลานั้น กลุ่มทีซีซี ของ “เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี” ได้เข้ามาร่วมประมูลแข่งกับกลุ่มเซ็นทรัล แต่ท้ายที่สุด กลุ่มทีซีซีสามารถคว้าดีลไปได้ด้วยมูลค่าสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 2 แสนล้านบาท หลังจากนั้น กลุ่มเซ็นทรัล ตัดสินใจขายหุ้นที่มีอยู่ในบิ๊กซี ในสัดส่วน 25% ออกไป เนื่องจากกลุ่มเซ็นทรัลได้สิทธิ์บิ๊กซีในเวียดนามแล้ว
.
เจ้าสัวเจริญ จึงถือครองอาณาจักรบิ๊กซี อย่างสมบูรณ์แบบ โดยในช่วงเดือน ก.ย. 2560 บิ๊กซี จึงประกาศขอซื้อหุ้นคืนจากรายย่อย เพื่อถอนบริษัทออกจากการจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ภายหลังเข้ามาไอพีโอ ตั้งแต่ปี 2555 ปิดฉาก 5 ปีในตลาดหุ้นไทย 
.
ถือว่า บิ๊กซี ที่อยู่ภายใต้ กลุ่มทีซีซี ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไป โดยในช่วงเวลาดังกล่าว คู่แข่งสำคัญในตลาดค้าปลีกของบิ๊กซีคือ "โลตัส" จากกลุ่มซีพี ที่มีสาขาไม่ห่างจากกันมากนัก โดยโลตัส มีจำนวนมากกว่า 100 สาขาเช่นกัน 
.
.
อ่านต่อ: https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1176514?anm=
.
#กรุงเทพธุรกิจ #InsightForOpportunities #กรุงเทพธุรกิจBusiness

ความคิดเห็น

บทความที่มีคนอ่านมากที่สุด

2025 ไทยรัฐกรุ๊ป ยกระดับประสบการณ์ผู้ชมครั้งใหญ่ ครอบคลุมทุกแพลตฟอร์ม ตอกย้ำเบอร์หนึ่งสื่อไทย

‘CHAGO’ ชานมแบรนด์ใหม่ จากอาณาจักร ‘รวยไม่หยุด’ ดึง ‘ออม-กรณ์นภัส’ นั่งหุ้นส่วนด้วย

เบื้องหลัง เสียง 'อิ้งค์-วรันธร' ประกาศชื่อ 'สถานี BTS' 'แบรนด์ดัง' ใช้โปรโมทพรีเซนเตอร์.

ไก่ทอดฮ็อทสตาร์ ผนึกเป๊ปซี่ รุก GEN Z

‘HAAB’ ขายขนมไข่เดือนละ ‘3 ล้านชิ้น’ เปิดร้านมา 1 ปี เตรียมบุก ‘มาเลเซีย’ เป็นประเทศแรก