มิติใหม่แห่งการเสพสื่อ เรื่องแบบนี้คุณต้องรู้

ถ้าใครทำธุรกิจ หรือทำงานด้านการตลาด
สิ่งแรกที่ต้องเข้าใจ คือ 
ปัจจุบัน การใช้เวลาของคนเปลี่ยนไป
มิติของการ “เสพสื่อ” ก็เปลี่ยนไปด้วย
สมัยก่อน ทีวีเป็นสื่อที่กินเวลาของคนไปเยอะ
หลังเลิกงาน ทุกคนจับจ้องรอดูรายการโปรด 
วันนี้ “สื่อออนไลน์” มีหลากแพลตฟอร์ม
เข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตคนมากขึ้นเรื่อยๆ 
จึงทำให้สินค้าและบริการ 
พยายาม “ยื้อแย่ง” เวลาในชีวิตของผู้บริโภค 
เพราะถ้าเข้าสู่ Customer Journey ของคนได้ 
โอกาส “ทำเงิน” จากผู้บริโภคย่อมมีตามมา
.
ทุกวันนี้ แต่ละปีเรามีงบโฆษณาสูงมาก
มีมูลค่าเกือบ “แสนล้านบาท” 
กระจายทั้ง “สื่อเก่า” และ “สื่อใหม่” 
ต่างหาทางช่วงชิงสายตาคนดู
ให้หยุดเวลาสนใจแบรนด์, คอนเทนท์ฉันบ้าง
เพราะถ้าทีวีมีเรตติ้งดี รายการไหนดังๆ 
ก็จะโกยเงินจากแบรนด์สินค้าได้ 
แต่กับสื่อออนไลน์ ตอนนี้เรื่องราวหลากหลาย 
ถ้ามีสักคอนเทนท์ที่โดนใจกลุ่มเป้าหมายได้ 
การดูดเงินจากกระเป๋าผู้ซื้อย่อมเป็นสิ่งที่ตามมา
.
เมื่อสื่อแบ่งเป็น 2 ฝั่ง เก่าและใหม่ 
การแย่งเวลาของคนผู้บริโภคดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ 
ฝ่ายไหนโกยความสนใจได้มาก 
เม็ดเงินโฆษณาก็จะไหลเพิ่มตามสัดส่วน 
ถ้ามีผลต่อยอดขาย แบรนด์ก็ย่อมแฮปปี้ไปด้วย
.
ลองคิดมั๊ย ว่าวันนี้ สื่อไหนได้ใจคนดู?
ทุกคนจะบอกเลยว่า 
สื่อดั้งเดิมไม่ว่าจะเป็นทีวีดิจิทัล เคเบิ้ลทีวี 
ทีวีดาวเทียม
ยืนอยู่ระยะ “ขาลง” มาพักใหญ่แล้ว 
แถมช่องทีวียังมากขึ้น แย่งชิงกันสนั่นจอ
เพื่อเพิ่ม “เรตติ้ง” ให้มากขึ้น
จนเดี๋ยวนี้ รายการดังๆ เปลี่ยนช่องเป็นว่าเล่น
.
ตอนนี้ระบบเรตติ้ง ก็เริ่มมีปัญหา
กระจายไปแต่ละช่อง 
คนราวๆ หลักหมื่นไปจนถึงหลักล้านต้นๆ 
ตัวเลขแตะหลักสิบล้านเหมือนอดีตไม่มีแล้ว 
อย่างละคร “บุพเพสันนิวาส” ที่ฮิตสุดๆ
เรทติ้งสูงสุด ราวๆ 17.4 เท่านั้น
แต่ถัวเฉลี่ย ราวๆ 10-15
.
เอ็ตด้า ระบุพฤติกรรมคนไทย
ว่าใช้เน็ตกันถล่มทลายจริงๆ 
ปี 2561 เวลาถึง 10 ชั่วโมง 5 นาทีต่อวัน
และสิ่งนี้แหล่ะ ที่ทำให้ Ratting TV ลดลง 
แพลตฟอร์มสื่อออนไลน์ที่ใช้กันมาก 
หนีไม่พ้น Facebook, Youtube, Instagram,
Line, และ Line TV 
.
เมื่อผู้บริโภคดูสื่อออนไลน์มากขึ้น 
นักการตลาดก็ต้องโยกเงินไปใช้กับสื่อนี้
เม็ดเงินโฆษณา 10 เดือนที่ผ่านมา 
มีมูลค่า 72,222 ล้านบาท 
เป็นสื่อออนไลน์ 16.9% เพิ่มจากปีก่อน 14.3% 
.
สื่อดั้งเดิม อย่างทีวี เม็ดเงินจะลดลงเรื่อยๆ 
อยู่ที่ราวๆ 55.4% จากเดิมที่อยู่ราวๆ 65% 
หนังสือพิมพ์ อยู่ราวๆ 6.1% 
ส่วนที่เหลือนั้น จะย้ายไปอยู่สื่อออนไลน์
.
สื่ออนไลน์ที่ดูดเงินโฆษณาไปได้มากสุด
คือเฟซบุ๊ค ราวๆ 4,084 ล้านบาท 
เพราะคนไทยใช้เฟซบุ๊คกันมากเหลือเกิน 
แถมจุดแข็งของเฟซบุ๊ค
สามารถทำตลาดแบบเจาะกลุ่ม (Targeted) ได้อย่างแม่นยำ
จึงทำให้โกยงบโฆษณาไปได้อย่างสูงสุด
.
ยูทูป ได้เงินไป  2,105 ล้านบาท 
เพราะตอนนี้เราเสพวิดีโอออนไลน์
แบบเปิดทิ้งไว้ยาวๆ ฟังเพลง ฟังรายการโปรด
โดยไม่ต้องมานั่งจับเจ่าหน้าจอ 
ยิ่งคนรุ่นใหม่เจนเนอเรชั่น Y และ Z 
ชอบใจกันมากกับแพลตฟอร์มนี้ราวๆ 99.6% และ 99.77% 
.
ส่วนในเรื่องของดิสเพลย์ การเสริซหาข้อมูล
ตอนนี้เริ่มมาแรงมาก โดยเฉพาะ LINE TV 
ที่หลังตั้งตัวเป็นแพลตฟอร์มวิดีโอ
จับมือพันธมิตรผลิต Original Content ดึงคนดู 
ดึงรายการเด็ดมาออกอากาศซ้ำ(Re-run) 
หามิวสิควิดีโอมาเสริม ให้คนมาใช้เวลาได้ยาวๆ 
จุดนี้ถ้าแข็งแรงขึ้น คนดู เรตติ้งเพิ่ม 
ลูกค้าจะเข้ามาซื้อโฆษณาตามไปด้วย
.
นี่คือเรื่องน่าปวดหัวของคำทำทีวี
เพราะออนไลน์แย่งเวลาคนดูไปได้เสมอๆ
ตอนนี้ผู้ประกอบการแต่ละค่าย
ต้องพลิกเกมหาคอนเทนต์ดีๆ 
มาฉุดกระชากให้คนดูกลับไปเฝ้าหน้าจอให้ได้ 
เพราะไม่อย่างนั้นผลประกอบการกระเทือนแน่ๆ
.
ถามว่าแล้วปี 62 
แพลตฟอร์มออนไลน์ จะเป็นแบบไหน
บอกเลยต้องบอกว่า “ตีกันเละ!”
ผู้ผลิตทุกคนต้องรับฟัง เรื่องบนโลกออนไลน์
เพื่อให้รู้ว่าผู้บริโภคคุยอะไรกันบนโซเชียลมีเดีย
และยังต้อเรียนรู้ แอพลิเคชั่นใหม่ๆ ด้วย
เพราะยุคนี้ เราจับคนดูยากมาก
ทำให้เราต้องคอยจับเทรนด์
สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย
.
เทรนด์วิดีโอออนดีมานด์ สตรีมมิ่งจะมาแรง
Facebook จะให้ความสำคัญกับวิดีโอมากขึ้น
เพื่อดึงผู้บริโภคที่ใช้เวลาอยู่กับเพจนานขึ้น
เพราะตอนนี้ สรุปกันแล้วว่า 
วิดีโอคือ “เมกะเทรนด์” ที่จะเกิดขึ้น 
คนใช้เฟซบุ๊ค จะใช้เวลาดูวิดีโอ
มากถึง 100 ล้านชั่วโมงต่อวัน
.
เมื่อมันเป็นแบบนี้
“โมเดลธุรกิจใหม่” ของ Content Creator 
จะเป็นสื่อทางเลือก ในการหารายได้
เพื่อหวังเม็ดเงินโฆษณาแทรกในรายการ 
โดยไม่ต้องพึ่งสปอนเซอร์แบบเดิมๆอย่างเดียว
.
ธุรกิจไม่เกาะกระแส “จีน” อาจตกขบวน 
เพราะแอพลิเคชั่นจีน คนจะใช้มากขึ้น
ตอนนี้แค่ TikTok แอพน้องใหม่ที่เพิ่งเข้าในไทย
ตอนนี้มีฐานผู้ใช้ 2 ล้านบัญชี(Account)แล้ว
.
สิ่งสำคัญที่สื่อต้องทำ 
ควรมีความเป็นคนไทยให้น้อยลง 
แต่เป็นประชากรโลกหรือชาวเอเชียให้มากขึ้น 
ยอมรับความเปลี่ยนแปลงของโลกให้มากขึ้น
เพื่อให้ออกจากกรอบและทันกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก
.
ออนไลน์แรงไม่ตก ทีวีเสื่อมมนต์ขลังลง 
นักการตลาดต้องหากลยุทธ์แบบใหม่
มารับมือการเสพสื่อของคอนซูเมอร์ 
ต้องคาดการณ์เทรนด์ปีหน้าให้ออกให้ได้
มาอะไรจะทรงอิทธิพลต่อการวางแผนธุรกิจ
โดยเค้าคาด 6 เทรนด์ ใหญ่ๆ ไว้ ดังนี้
.
1.ผู้บริโภคใจร้อน หัวร้อนมากขึ้นทวีคูณ 
เพราะเทคโนโลยีความเร็วอินเตอร์เน็ต 5G 
ทำให้การสืบค้นหาข้อมูลเร็วขึ้น 
เลื่อนดู Feed ข้อมูลข่าวสารใช้เวลาน้อยลง 
อย่างในสหรัฐฯ คนหยุดดูสิ่งที่น่าสนใจ
ใช้เวลา 1.7 วินาที จากก่อนหน้า 3 วินาที  
ความเร็วขนาดนี้ เราต้องคิดคอนเทนต์สั้นๆ
เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย
.
ส่วนเนื้อหาจะสั้นแค่ไหน 
ต้องขึ้นอยู่กับแต่ละแพลตฟอร์มด้วย 
อย่างเฟซบุ๊ค 3 วินาที แล้วยังไม่เข้าเรื่อง ลูกค้าหนีได้ 
ส่วนยูทูป ถ้าลูกค้าหยุดดูคอนเทนท์เกิน 6 วินาที 
จะสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อแบรนด์ 
มีโอกาสเกิด Brand preference 
หรือ Brand Recall
“แบรนด์ต้องทำคอนเทนท์ให้สั้น 
ส่วนผู้บริโภคต้องการเซอร์วิสที่เร็วจากแบรนด์
อย่างอาลีบาบาตอนนี้ ได้ตั้งสโตร์สำหรับส่งสินค้าทุกประเทศ
เพราะหัวใจหลักของธุรกิจคือต้องเดลิเวอรี่
ต้องส่งถึงลูกค้าเป้าหมายภายในวันเดียว 
ให้เร็วสุดไม่ใช่สินค้าต้องถูกที่สุด”
.
2.Data is Core ขุมทรัพย์ข้อมูลหัวใจสำคัญ
ยุคนี้ใครมข้อมูลเป๊ะ! ถือว่าได้เปรียบทางธุรกิจ 
ช่วยให้วิเคราะห์ความต้องการ 
คาดการณ์แนวโน้มต่างๆ 
การเห็นภาพอนาคตจากข้อมูลเชิงสถิติ
จะช่วยให้นักการตลาดวางหมากรบได้แม่นยำ
.
สิ่งที่น่าขบคิดขณะนี้ 
คือมีผู้ที่นำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
น้อยเพียง 1% เท่านั้น 
แต่อีก 99% ยังต้องอัพ เลเวลความเข้มข้นในการใช้ข้อมูล
หรือบางแห่ง ไม่เคยใช้ข้อมูลพวกนี้เลย
.
3.การใช้สื่อตอนนี้ ต้องเป็นผสานทุกสื่อ
เพื่อเพิ่มประสบการณ์ลูกค้า
ให้ได้ปฏิสัมพันธ์ข้ามสื่อทุกแพลตฟอร์ม 
เพราะปัจจุบันการสื่อสารผ่านสื่อช่องทางเดียว 
เช่น โฆษณาทางทีวีอาจสร้าง Awareness
แต่การรัวหมัดตลาดต่อบนโลกออนไลน์
จะช่วยทำให้มีการเข้าถึง 
มีส่วนร่วมกับแบรนด์ เพิ่มขึ้น
อย่างเฟซบุ๊ค ต้องสื่อสารด้วยคอนเทนท์ที่ทำให้เกิด Impact ต่อผู้บริโภค 
อินสตาแกรม เชื่อมไลฟ์สไตล์ 
ทวิตเตอร์เพื่อความเร็วในการเป็นผู้กำหนดเทรนด์(Trend Setter)
ให้เกิดกระแสบอกต่อ(Buzz Word) 
เป็นกองหนุนการทำตลาดให้แบรนด์สปริงบอร์ดไปยังสื่ออื่นๆ
.
การผสานสื่อแบบนี้
สิ่งจำเป็นที่สุดคือการอัพเดทข้อมูล 
ประวัติของผู้บริโภคให้ทันเหตุการณ์เสมอ
ว่าเริ่มจากจุดไหน ผ่านช่องทางใดบ้าง 
เพื่อแบรนด์จะได้ตัดทอน ให้เกิดการซื้อสินค้าเร็วขึ้น
.
เทรนด์ที่ 4 พุ่งตรงไปที่“ผู้นำองค์กร”
ต้องลุกขึ้นมาให้ความสำคัญ
ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงการทำตลาดดิจิทัล 
บางแห่งต้อง Disrupt  เทคโนโลยีให้ถูก
อย่างธ.ไทยพาณิชย์(เอสซีบี) 
ตอนนี้นโยบายและแผนปฏิบัติงานต่างๆ
จะส่งผลตามการตลาด และเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลเห็นชัดเจนมากขึ้น
.
5.เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์(เอไอ)
และระบบสนทนาอัตโนมัติ(แชทบอท)จะมาแน่ๆ
ตอนนี้จะเริ่มตอบคำถามขั้นพื้นฐานสั้นๆ 
ยังพัฒนาช่วยขายสินค้าได้ด้วย 
บอกเล่าโปรโมชั่นกระตุ้นการขาย 
ช่วยบริหารความรู้สึกของลูกค้าในการรอคอย 
เป็นแก้ภาวะวิกฤติเบื้องต้น 
เพราะนับวันการเรียนรู้ของเทคโนโลยี
จะถูกยกระดับให้ใกล้ชิดกับมนุษย์มากขึ้น
จะเห็นว่าตอนนี้ สินค้าที่นำแชทบอทมาใช้
จะเริ่มมีหลายกลุ่ม เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค,
อสังหาริมทรัพย์ อีคอมเมิร์ซ เป็นต้น
.
เทรนด์ที่ 6 ระบบจดจำอัตลักษณ์บุคคล 
เป็นการเก็บข้อมูลสินค้าจนระบุตัวตน 
เพื่อให้ลูกค้าสามารถเปรียบเทียบสินค้า
ระหว่าง A และ B ได้อย่างชัดเจน 
ตัวอย่างการแท็กเพื่อนบนเฟซบุ๊คว่าใครเป็นใคร
มีความแม่นยำมากมากถึง 97.25%
และปัจจุบันอาจอัพเลเวลความแม่นเป๊ะกว่าเดิม
.
อีกพฤติกรรมหนึ่งที่เกิดขึ้นแน่ๆ
คนออนไลน์ จะชอบเสพโซเชียลคุยกันสนั่นเมือง 
ทั้งบันเทิง ธุรกิจ เรื่องราวสังคม ฯ 
เกิดปริมาณข้อมูลมากถึง 5.3 พันล้านข้อความ 
เติบโต 43% จากปีก่อนมี 3.6 ล้านข้อความ 
โดยทุก 1 นาทีละ 10,000 ข้อความ 
หากสกัด Big Data มาใช้ได้
จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาธุรกิจมากเลยทีเดียว
.
อย่างตอนนี้ การสร้าง Big Data เป็นเรื่องสำคัญ
อย่างค่าย Grammy ตอนนี้ การสร้างยอดขาย
ไม่อยู่ในเครือของตัวเองแล้ว
เพราะจับมือกับ Workpoint เอานักร้องไปออกเกม
จนสร้างความนิยมให้กับนักร้องหลายคน
จนเราต้องตกใจ ว่าเค้าสร้างชื่อเสียง
ให้กับนักร้องที่มาร่วมรายการ
ได้ดีกว่าต้นสังกัดเสียอีก
เฮ่ย! มันเป็นแบบนี้ได้ไงฟ่ะ
ChatTalks…คุยธุรกิจ คิดให้เป็น
www.facebook.com/chatchaitalk
Tel.081-4954999 , Line ID : ChatTalks
Email : kittisak4999@hotmail.com

ความคิดเห็น

บทความที่มีคนอ่านมากที่สุด

มิติใหม่! ขายได้แม้ยังไม่เปิดตัว ลูกค้าซื้อเพนท์เฮ้าส์ 500 ล้านบาท ของแสนสิริ บนทำเลทองชิดลม

ศูนย์การค้าต่างพร้อมใจตกแต่งสถานที่ เพื่อร่วมต้อนรับเดือนแห่งความหลากหลายและความเท่าเทียม ในเทศกาล Pride Month

ฮาลั่น....ไม่รู้จักได๋ ไดอาน่า

เปิดวิสัยทัศน์ วินฟาสต์ ไทย-อาเซียน ประสบการณ์ลูกค้าคือ สมรภูมิใหม่ EV

'Nano' เปิดตัวสินค้ากลุ่มแสงสว่าง ตั้งเป้าปี 68 รายได้ทะลุ 2,000 ล้านบาท