10 ปีแบรนด์ยักษ์ใหญ่อาหารเครื่องดื่มในโลกเปลี่ยน ‘มี่เสวี่ย’ แซงหน้ามาแรง

หากสำรวจตลาดแฟรนไชส์ในโลก เป็นตลาดที่มีมูลค่าใหญ่มากและแบรนด์ยักษ์ใหญ่อาหารเครื่องดื่มในโลกส่วนใหญ่จะมาจาก ประเทศสหรัฐเป็นหลัก แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แบรนด์จีน ได้เร่งขยายสาขาไปสู่ต่างประเทศ จนก้าวสู่การมีสาขามากสุดแซงหน้ายักษ์ใหญ่หลายแบรนด์ในโลกแล้ว

นายเศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจแฟรนไชส์ และกรรมการผู้จัดการ บริษัท จีโนซิส จำกัด กล่าวว่า จากการประเมินภาพรวมตลาดแฟรนไชส์ในโลก ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2556-2566 แบรนด์ที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในโลก 

อันดับแรกคือ แม็คโดนัลด์ จากจำนวนสาขามากที่สุดในโลก 

รองลงมา สตาร์บัคส์, ซับเวย์, มี่เสวี่ย, เคเอฟซี, โดมิโน่ พิซซ่า, เบอร์เกอร์คิง และ ลัคอิน คอฟฟี่

แต่ที่น่าสนใจคือ ในปี 2567 แฟรนไชส์ที่กำลังมาแรงและมีการขยายสาขารวดเร็วในโลกได้แก่ มี่เสวี่ย (Mixue) เป็นแบรนด์แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้จากประเทศจีน ที่มีสาขาทั่วโลกจำนวนกว่า 3.60 หมื่นสาขาแล้ว

รวมถึงในประเทศไทยที่เข้ามาขยายสาขาใหม่อย่างรวดเร็ว เนื่องจากแผนของบริษัทที่มุ่งขยายสาขาออกไปในทั่วโลก การวางกลยุทธ์การเติบโต และการได้รับแรงสนับสนุนจากรัฐบาลจากประเทศจีนในการลงทุนเปิดสาขาใหม่ในต่างประเทศอย่างเต็มที่

นอกจากนี้การเข้ามาขยายสาขาในประเทศไทยของแบรนด์ มี่เสวี่ย ในประเทศไทย กับลงทุนในรูปแบบแฟรนไชส์ โดยคิดอัตราค่าแฟรนไชส์และค่าลงทุนในเปิดร้านประมาณ 8.87 แสนบาท ซึ่งถือว่าราคาไม่แตกต่าง จากแฟรนไชส์อื่นๆ ในประเทศไทยมากนัก จึงเป็นอีกจุดได้เปรียบดึงดูดลูกค้าเข้าไปลงทุนเช่นกัน จึงเห็นหลายทำเลในประเทศไทย

ทั้งนี้เมื่อไปสำรวจแฟรนไชส์ในประเทศไทย นับรวมสาขาทั้งหมด ทั้งลงทุนเองและเปิดแฟรนไชส์ แบรนด์ที่มีสาขามากสุดคือ
* เซเว่น อีเลฟเว่น จำนวนมากกว่า 14,000 สาขา
* ไก่ย่างห้าดาว จำนวนกว่า 6,000 สาขา
* ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว จำนวน 4,500 สาขา
* คาเฟ่อเมซอน จำนวนกว่า 4,300 สาขา
* อ๊อตเตริ จำนวนกว่า 1,200 สาขา
* เคเอฟซี จำนวนกว่า 1,100 สาขา

สำหรับปัจจัยสำคัญในการเลือกลงทุนแฟรนไชส์ต่างๆ ต้องพิจารณาหลักอื่นๆ ประกอบด้วย 5 ด้านสำคัญคือ
* ความแข็งแกร่งของแบรนด์
* ระบบการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง
* ความสามารถในการคืนทุนและกำไร
* การสนับสนุนจากเจ้าของแฟรนไชส์
* ศักยภาพและการขยายตัวของธุรกิจ

อีกทั้งสิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนลงทุนทุกครั้งคือ มีข้อจำกัดในการทำงาน ต้องทำตามระบบ ต้องรายงานแฟรนไชส์ชอร์ การไม่การันตีความสำเร็จ การต้องแบ่งบันกำไรให้แฟรนไชส์ชอร์ และใช้เงินลงทุนมากกว่าที่คิด

ทั้งนี้เมื่อประเมินธุรกิจแฟรนไชส์ในไทยในปี 2567 รวมมูลค่าประมาณ 3 แสนล้านบาท (ไม่รวมร้านสะดวกซื้อ) คาดว่าจะขยายตัวประมาณ 9% 

สัดส่วนแบ่งเป็น 
* อาหาร 46.7%
* เครื่องดื่ม 21.5% 
* บริการ 12.6% 
* การศึกษา 9.4% 
* ค้าปลีก 5.1% 
* ความงามและสปา 4.7% 

ซึ่งในประเทศไทย มีจำนวนแบรนด์ต่างๆ รวมทั้งหมด 531 กิจการ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

อย่างไรก็ตาม แบรนด์สี่เสวี่ย มีสาขาในไทย จำนวนกว่า 200 สาขา พร้อมได้ประกาศแผนว่า ภายใน 3 ปีข้างหน้าจะมีสาขาในไทยกว่า 2,000 สาขา จึงต้องติดตามว่า ในระยะยาว จะสามารถแซงหน้าแบรนด์อาหารและเครื่องดื่ม อันดับต้นๆ ในไทยได้สำเร็จหรือไม่!

รวมถึงแบรนด์อาหารและเครื่องดื่มของประเทศไทย จะมีการปรับแผนธุรกิจอย่างไรในตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป กับการมีคู่แข่งรายใหม่ๆ เข้ามาในประเทศเพิ่มมากขึ้น

ความคิดเห็น

บทความที่มีคนอ่านมากที่สุด

อย่ากลัว Distruption เพราะมันมากาคุณแน่ๆ

“พจน์ อานนท์” หนัง Content “ต่ำ” แต่คำโปรโมท “สูง”

กางเกงยีนส์ ‘แม็ค’ ปรับธุรกิจอย่างไร ให้มากกว่าเดนิม สร้างการโตนิวไฮรอบ 7 ปี

Heineken 0.0 เบยร์ไม่มีแอลกอฮอลล์ แกกกฏโฆษณา และฉีกภาพเบียร์ในตำนาน

ต่อไปนี้ ระบบการทำธุรกิจ จะโดน Distrub