‘มาม่า’ โกยยอดขาย รับบะหมี่โต 7.9% ‘ฟาร์มเฮ้าส์’ เจอแข่งเดือด!


ส่อง 2 บิ๊กแบรนด์ “มาม่า-ฟาร์มเฮ้าส์” เมื่อตลาดบะหมี่ฯโต 7.9% การตลาดจัดเต็มหนุน “มาม่า”โตแกร่ง ส่วน “ฟาร์มเฮ้าส์” ยอดขาย กำไรลด เหตุหน้าใหม่ชิงส่วนแบ่งตลาดเบเกอรี
.
บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด(มหาชน) สร้างรายได้จากการขายปี 2567 จำนวน 7,480.31 ล้านบาท ลดลง 0.8% หรือ 60.13 ล้านบาท และมีกำไร 1,590.59 ล้านบาท ลดลง 6.86% หรือ 117.18 ล้านบาท
.
ส่วนของ รายได้จากการขายลดลงเพราะเผชิญการแข่งขันที่สูงขึ้น ในอุตสาหกรรมเบเกอรีและขนมปัง โดยมี “ผู้เล่นรายใหม่” เข้ามาชิงเค้กในตลาด ขณะที่กำไรได้รับผลกระทบจาก “ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น” ทั้งการปรับเงินเดือนและค่าแรงขั้นต่ำ ส่วนหนึ่งจากค่าซ่อมบำรุงเครื่องจักรที่ครบกำหนดระหว่างปี รวมถึงยอดขายที่ลดลงสวนทางต้นทุนด้วย
.
ปัจจัยที่กระทบต่อการขับเคลื่อนธุรกิจและฐานะการเงินในอนาคต บริษัทมอง “เศรษฐกิจ” ทั้งภายในและภายนอกประเทศยังมีคามไม่แน่นอน ทำให้ “ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่าย” อีกทั้ง “คู่แข่ง” ในตลาดมีเพิ่มขึ้น อาจส่งผลต่อยอดขายสินค้าได้ ด้านต้นทุนวัตถุดิบ มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในหมวดสินค้าเกษตร จากผลผลิตลดลงเพราะสภาพภูมิอากาศแปรปรวนและภาวะโลกร้อน เป็นต้น
.
ฟาก “มาม่า” ภายใต้ผู้ผลิตอย่าง บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด(มหาชน) หรือ TFMAMA สร้างผลงานรายได้จากการขาย 29,606 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.02% และยังครองส่วนแบ่งทางการตลาด 48.6% รักษาบัลลังก์เบอร์ 1 เหนียวแน่นต่อไป ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 4,481.71 ล้านบาท เติบโตถึง 18.64%
.
เมื่อแบ่งรายได้เฉพาะบะหมี่ฯที่ขายในประเทศจำนวน 12,478.96 ล้านบาท และส่งออก 6,492.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 รายได้ในประเทศ 11,632.56 ล้านบาท และส่งออก 5,260.95 ล้านบาท
.
ปัจจัยที่ทำให้ยอดขายในประเทศโตคือการเปิดตัวสินค้าใหม่ภายใต้ “แบรนด์ OK” การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ หนุนสินค้ารสชาติเดิมยอดขายเพิ่ม ส่วนต่างประเทศโตจากการเริ่มผลิตบะหมี่ฯในประเทศเมียนมา
.
สำหรับตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและเส้นหมี่กึ่งสำเร็จรูปปี 2567 มีมูลค่า 22,778 ล้านบาท เติบโตสูง 7.9% และอัตราการบริโภคเฉลี่ยของคนไทยอยู่ที่ 54 ซองต่อคนต่อปี
.
ส่วนปี 2568 บริษัทคาดการณ์ตลาดบะหมี่ฯ จะมีการเติบโตสูงขึ้นเมื่อเทียบปี 2567 แม้สถานการณ์ต้นทุนวัตถุดิบยังมีความผันผวน โดยบริษัทกำหนดแนวทางบริหารจัดการความเสี่ยงรอบด้าน ให้ความสำคัญกับการแสวงหาแหล่งวัตถุดิบทางเลือกใหม่ๆ และการวิจัยพัฒนาสูตรการผลิตที่สามารถใช้วัตถุดิบทดแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ เพื่อรักษาศักยภาพการแข่งขันและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาวทั้งตลาดในและต่างประเทศ
.
สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลกระทบการดำเนินธุรกิจ ยังเป็นเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะผันผวนต่อเนื่อง จากความขัดแย้ง รัสเซีย-ยูเครน ไม่มีทีท่าจะยุติ ความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยของประเทศมหาอำนาจทั้งสหรัฐ จีน และกลุ่มสหภาพยุโรป และผลพวงของมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐ
.
ขณะที่ประเทศไทย แม้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัวดี แต่เศรษฐกิจภาพรวมมีความท้าทายมากขึ้นเมื่อเทียบปี 2567 ที่เสี่ยงเผชิญการส่งออก “หดตัว” หนี้ครัวเรือนยังอยู่ระดับสูง
.
อย่างไรก็ตาม ทิศทางธุรกิจของมาม่าในอนาคต บริษัทยังมุ่งมั่นจะรักษาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งในฐานะ “ผู้นำตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” โดยให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม การปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจให้สอดคล้องกัน

ความคิดเห็น

บทความที่มีคนอ่านมากที่สุด

เปิดที่มากว่าจะมาเป็น “รีเจนซี่” บรั่นดีไทย

‘HAAB’ ขายขนมไข่เดือนละ ‘3 ล้านชิ้น’ เปิดร้านมา 1 ปี เตรียมบุก ‘มาเลเซีย’ เป็นประเทศแรก

10 ปี S2O ยกเทศกาลดนตรีสู่ราชมังคลาฯ ปลุกสงกรานต์สุดว้าว!

ดั๊บเบิ้ล เอ เผยผลประกอบการปี 67 รายได้โตต่อเนื่อง กำไรเพิ่มขึ้น 22.6%

"สเวนเซ่นส์" ขอขายเครื่องดื่มครีมไข่ แตกแบรนด์ SIP โมเดลป็อปอัพสโตร์