เจาะเบื้องหลังวิธีเลือกแบรนด์แอมบาสเดอร์ของ ‘มาม่า - เอไอเอส’


อีกเครื่องมือการตลาดที่สำคัญของแบรนด์ใหญ่และแบรนด์เล็กคือ การเลือกใช้ แบรนด์แอมบาสเดอร์ หรือ พรีเซ็นเตอร์ ไปจนถึง อินฟลูเอนเซอร์ และเคโอแอล มาร่วมสื่อสารแบรนด์ไปสู่กลุ่มเป้าหมาย แต่ยุคปัจจุบันที่มีแพลตฟอร์มต่างๆ และผู้บริโภคมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ทำให้เกิดคำถามว่า วิธีการทำตลาดในรูปแบบนี้จะมีความสำคัญหรือลดบทบาทลงหรือไม่ อีกทั้งท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวแบบชะลอตัว การใช้แนวทางการตลาดรูปแบบนี้มีความสำคัญเพียงใด 

ทั้งนี้ แบรนด์มาม่า ให้คำตอบว่า แบรนด์ควรเลือกให้ตรงกับโจทย์มากที่สุด ร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงและขยายกลุ่มลูกค้าใหม่ได้มากขึ้น ส่วนค่ายเอไอเอส มองว่า การมีแบรนด์แอมบาสเดอร์ พรีเซ็นเตอร์ อินฟลูเอนเซอร์และเคโอแอล สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้แตกต่างกัน อีกทั้ง มีเดียเอเจนซี่อย่าง เอ็มไอ ชี้ให้เห็นถึงเทรนด์ถึงอิทธิพลของการเลือกใช้ให้ถูกกลุ่ม จะสร้างผลลัพธ์อย่างมหาศาลให้แก่สินค้าได้เช่นกัน 

เพชร พะเนียงเวทย์ กรรมการบริษัท และผู้อำนวยการ ฝ่ายการตลาด บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ฉายภาพในงาน ‘Brand Ambassadors : Worth the Hype or Wasted Spend? Unmasking the ROI’ ว่า แบรนด์ “มาม่า” ได้ก่อตั้งมากว่า 50 ปีแล้ว โดยต้องการปรับภาพแบรนด์ให้ขยายไปสู่กลุ่มวัยรุ่นสนใจแบรนด์มากขึ้น พร้อมได้เลือกผลิตภัณฑ์มาม่าหมูสับ มาร่วมทำมิวสิควีดีโอออกมาใหม่กับเพลง “รักแรก” อีกเวอร์ชั่นใหม่ สร้างผลตอบรับที่ดีด้วยยอดวิวสูงถึง 11-12 ล้านวิว ในช่วงที่ผ่านมา

อีกทั้งแบรนด์ ได้มีการเลือกใช้ศิลปินกับ Tilly Birds และ Three Man Down มาร่วมต่อยอดนำเสนอเรื่องราวของแบรนด์ เพื่อนำเสนอภาพสินค้าให้มีความเด็กลง และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการร่วมสื่อสาร

ล่าสุดกับ “มาม่า โอเค” ทำตลาดมากว่า 10 ปีแล้ว เน้นกลุ่มวัยรุ่นเช่นกัน โดยต้องการขยายภาพแบรนด์ไปสู่พรีเมี่ยมแมสมากขึ้น จึงเลือกศิลปิน “อิ้งค์-วรันธร เปานิล” สู่แบรนด์แอมบาสเดอร์ ร่วมสื่อสารกับลุ่มคนรุ่นใหม่

ทั้งนี้วิธีการในเลือกแบรนด์แอมบาสเดอร์แต่ละคนจะไม่ง่าย ต้องมีการพูดคุยกับทุกคน และพูดคุยกับค่ายเพลง เพื่อประเมินว่า มีแนวคิดสอดคล้องกับแบรนด์ ทัศนคติ และต้องใช้สินค้า เพราะการมีแบรนด์แอมบาสเดอร์ ก็เปรียบเสมือนอยู่ในครอบครัวเดียวกัน

ทั้งนี้ได้นำเสนอแคมเปญใหม่นี้ของ “อิ้งค์” ที่มีการ wrap บนรถไฟฟ้า และมีความพิเศษด้วยการจัดทำเสียงของอิงค์ บอกชื่อแต่ละสถานีรถไฟฟ้าด้วย จึงสร้างกระแสไวรัลให้เกิดขึ้น และมีสื่อนำไปลงอย่าง “กรุงเทพธุรกิจ” เป็นต้น สร้างกระแสความน่าสนใจสูงมาก 

อย่างไรก็ตาม เมื่อการเลือกแบรนด์แอมบาสเดอร์ทุกครั้ง ที่เป็นสิ่งใหม่ ทุกฝ่ายในองค์กรอย่างพนักงาน ฝ่ายขาย และทุกคนต้องเข้าใจตรงกัน เพื่อทำให้เป้าหมายการสื่อสารตอบโจทย์ที่ต้องการ

นอกจากนี้ อาจปรับไปในสายอื่นๆ หรือเลือก เคโอแอล มาใช้ร่วม เพื่อสร้างอิมแพคต่อกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกันได้ อย่างในปีที่ผ่านมา ได้ดึง “พี่อู๋ Spin9” มาร่วมทำแคมเปญนำเสนอการลุ้นรางวัลให้แก่ลูกค้า พบว่า มีลูกค้าสนใจเอนเกจเมนท์ร่วมลุ้นชิงโชคเพิ่ม 3 เท่า ซึ่งหากวัดผลเทียบเท่ากับการใช้โฆษณาผ่านทีวี และพี่อู๋ Spin9  พบว่า ยอดเอนเกจเมนท์เท่ากันเลย ทั้งที่ใช้เม็ดเงินแตกต่างกัน 

แบรนด์แอมบาสเดอร์มีเครื่องมือวัดผลที่ชัดเจน 

ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มีเดียอินเทลลิเจนซ์กรุ๊ป จำกัด หรือ เอ็มไอ กรุ๊ป เสริมถึง การเลือกแบรนด์แอมบาสเดอร์ของสินค้า ที่ต้องร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่แบรนด์ โดยแนวทางในการเลือกต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ในการจัดทำว่ามีความเหมาะสมอย่างไร การนำใช้มาเสริมความแข็งแกร่ง หรือ ร่วมแก้ปัญหาให้แก่แบรนด์ พร้อมร่วมเสริมประสิทธิภาพ ผลักดันยอดขายสินค้า หรือ นำพาแบรนด์ร่วมสร้างความยั่งยืน

ทั้งนี้การเลือกแต่ละคน ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกันระหว่างกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์และพรีเซ็นเตอร์ หรือ แบรนด์แอมบาสเดอร์ รวมถึงสามารถใช้ อีโมชั่นนอล คอนเนคชันมาร่วมสื่อสารให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อทำให้เกิดการต่อยอดและเพิ่มมูลค่าตาม กลยุทธ์ของแบรนด์ที่วางไว้

หากประเมินภาพรวมตลาดในช่วง 4-5 ปีก่อนตลาดทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงไป มีวัฒนธรรมย่อยมากขึ้น กลุ่มลูกค้ามีความหลากหลาย อย่างกลุ่มวัยรุ่นมัธยม ก็มีกลุ่มที่ย่อยมากขึ้น ดังนั้น แบรนด์ขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ควรเลือกหลายองค์ประกอบการมาพิจารณา เช่น อาจเลือกใช้เฉพาะ แบรนด์แอมบาสเดอร์ พรีเซ็นเตอร์ หรือ เลือกเฉพาะ เคโอแอล หรือ อินฟลูเอนเซอร์ได้เช่นกัน เพราะแบรนด์แอมหนึ่งคน อาจจะไม่ใช่ตัวแทนสินค้าทั้งหมด อาจเลือกหลายคนมานำเสนอพร้อมกันได้ 

ทั้งนี้ การเลือกแบรนด์แอมบาสเดอร์ในปัจจุบัน มีเครื่องมือในการวัดผลที่หลากหลาย ทั้งผลทางตรง ทางอ้อม อีกทั้งสามารถทราบผลได้อย่างเรียลไทม์ ทั้งกระแสการพูดถึงกับแบรนด์ ไปจนถึงวัดผลในเชิงลึก ในหลายมิติได้ทั้งหมด

“ทุกบริษัทต้องมีโจทย์ต้องชัดว่า เป้าหมายในการเลือกใช้แบรนด์แอมบาสเดอร์คือด้านใด ต้องมีกลยุทธ์ที่ชัดเจน เราสามารถวัดผลได้หมด ซึ่งเมื่อประเมินในปัจจุบัน บางแบรนด์มีกระสุนน้อยลงทั้งแบรนด์เล็กและแบรนด์ใหญ่ ตามผลของภาวะเศรษฐกิจ ดังนั้นการเลือกใช้อาจไม่จบที่การมีแบรนด์แอมบาสเดอร์เสมอไป ยังมี อินฟลูเอนเซอร์ หรือ เคโอแอล มาร่วมเลือกให้เหมาะกับโจทย์ของธุรกิจ” 

การเลือกแบรนด์แอมบาสเดอร์ต้องร่วมสื่อสารไปสู่กลุ่มเป้าหมาย

นางสาวพิมพ์นรี น้อยธรรมราช หัวหน้าแผนกบริหารแบรนด์ เอไอเอส ให้มุมมมองต่อการเลือกใช้ แบรนด์แอมบาสเดอร์ พรีเซ็นเตอร์ รวมถึงอินฟลูเอนเซอร์ และเคโอแอลที่มีอย่างหลากหลายและมีจำนวนมาก โดยเอไอเอส มี Motto สำคัญที่วางไว้คือ 1.ใครมีความเชื่อในด้านใดอยู่ จะไม่ยุ่งในเรื่องนี้ 2. การนำเสนอทุกคนให้มีความเป็นธรรมชาติที่สุด และ 3. ต้องไม่หยาบและไม่เหยียดใคร อีกทั้งยังมีแนวทางการเลือกจากผู้ใช้งานแบรนด์จริงไปสู่พรีเซ็นเตอร์

สำหรับการเลือศิลปินที่มาร่วมเป็นพรีเซ็นเตอร์ ยังต้องสามารถร่วมนำเสนอเรื่องราวของแบรนด์ และนำเสนอการใช้งานจริงไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้ อย่าง วงบัส (BUS) สมาชิกมี 12 คน โดยทุกคนต่างเป็นผู้ใช้งานจริงและมีการสื่อสารร่วมไลฟ์สดต่างๆ สู่กลุ่มเป้าหมาย ทำให้ลูกค้าเข้าใจเทคโนโลยีต่างๆ ของแบรนด์ 

“แบรนด์แอมบาสเดอร์ เปรียบเสมือนเป็น มีเดียม ช่วยสื่อสารได้ และทุกคนต้องมีใจรักกับแบรนด์”

อีกทั้ง การมี “พี่จองและคัลเลน” เป็นหนึ่งในแบรนด์แอมบาสเดอร์ ที่ได้เดินทางไปในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ และไปสำรวจในพื้นที่ที่หลายคนอาจไม่เคยไป โดยในปัจจุบันได้เดินทางไปใน 34 จังหวัดแล้ว พร้อมสามารถนำเสนอเรื่องราวสื่อถึงแบรนด์ได้เป็นอย่างดี 


‘ศูนย์สิริกิติ์’ เผยวีซ่าฟรีหนุน ‘ธุรกิจจีน’ แห่ร่วมงานเทรดแฟร์โตแรง 30%

นายศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล กรรมการบริหาร บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เปิดเผยว่า เชื่อว่าด้วยศักยภาพของประเทศไทยสามารถเป็น “มาร์เก็ตเพลซ” (Market Place) ของภูมิภาค เพราะมีสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก สถานที่จัดงาน และโรงแรมจำนวนมาก พร้อมรองรับการเดินทางเข้ามาของชาวต่างชาติในราคาไม่แพง

สำหรับกลุ่มประเทศที่มีการเติบโตต่อเนื่องและเป็นเป้าหมายในการเชิญชวนมาร่วมงานที่ไทย ได้แก่ กลุ่มซีแอลเอ็มวี (CLMV: กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม) โดยในช่วง 8 เดือนแรก (ม.ค.-ส.ค.) ของปีนี้ งานแสดงสินค้าหรือเทรดแฟร์ที่เข้ามาจัดในศูนย์ฯสิริกิติ์ พบว่ามีผู้มาออกบูธและผู้เข้าร่วมงานจากกลุ่ม CLMV ตอบรับเป็นอย่างดี

แต่ที่เห็นการเติบโตชัดเจนที่สุดในปีนี้คือประเทศจีน ซึ่งให้ความสนใจเดินทางมาร่วมงานที่ศูนย์ฯสิริกิติ์จำนวนมาก เพิ่มขึ้นกว่า 30% เทียบกับปีที่แล้ว จากจำนวนงานทั้งหมดที่เข้ามาจัดที่นี่

“ปี 2566 มีธุรกิจหรือโรงงานจีนมาเข้าร่วมงานแสดงสินค้าไม่มากนัก แต่ปีนี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อาจจะเกิดจากความสะดวกสบายหลังรัฐบาล ไทย-จีน ประกาศมาตรการยกเว้นวีซ่า (วีซ่าฟรี) ถาวรระหว่างกัน ในแง่ธุรกิจถือว่ามีประโยชน์มาก แต่เรื่องการดูแลให้ทำถูกต้องตามกฎหมายเป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐที่ต้องเข้ามาตรวจสอบและควบคุม ส่วนมาตรฐานของสินค้าจากธุรกิจหรือโรงงานจีนที่นำมาออกบูธ ได้รับการตรวจสอบว่าผ่านมาตรฐานจากประเทศต้นทางแล้ว เพราะหลายสินค้าต้องสัมผัสร่างกายและเป็นอาหารการกิน”

อย่างล่าสุด งาน Food & Hospitality Thailand 2024 จัดระหว่างวันที่ 21-24 ส.ค.2567 เป็นงานสำคัญที่ผู้อยู่ในธุรกิจท่องเที่ยวและบริการต้องเข้าเยี่ยมชม เพราะมีการจัดแสดงสินค้า ผลิตภัณฑ์ และโซลูชั่นด้านธุรกิจท่องเที่ยวกว่า 3,000 แบรนด์ จาก 18 ประเทศ พบว่าในงานนี้ได้รับความสนใจจากธุรกิจในต่างประเทศจำนวนมาก โดยเป็นธุรกิจจากจีนครองสัดส่วนการร่วมงานกว่า 30% ของผู้ร่วมงานทั้งหมด

“เราอยากให้รัฐบาลสนับสนุนประเทศไทยเป็นมาร์เก็ตเพลสสำหรับภูมิภาคนี้ เพราะหลังหมดยุคโควิดระบาดพบว่าตลาดต่างประเทศฟื้นตัวชัดเจน ยกเว้นตลาดในประเทศที่ยังมีปัญหาเรื่องการบริโภคภายในประเทศ”

นายศักดิ์ชัย กล่าวด้วยว่า จากเทรนด์ของโลกที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้ปี 2567 ศูนย์ฯสิริกิติ์มุ่งเน้นจัดงานในกลุ่มธุรกิจที่มีการเติบโตดี อาทิ งานเกี่ยวกับผู้สูงอายุ งานสัตว์เลี้ยง งานโออีเอ็ม (OEM) งานสร้างแบรนด์ งานสร้างเจ้าของกิจการ และการขายสินค้าออนไลน์ เป็นต้น ส่งผลให้ศูนย์ฯสิริกิติ์มีรายได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดว่าตลอดทั้งปีนี้จะมีรายได้เพิ่มขึ้น 7-8% เมื่อเทียบกับปี 2566


ความคิดเห็น

บทความที่มีคนอ่านมากที่สุด

อย่ากลัว Distruption เพราะมันมากาคุณแน่ๆ

“พจน์ อานนท์” หนัง Content “ต่ำ” แต่คำโปรโมท “สูง”

กางเกงยีนส์ ‘แม็ค’ ปรับธุรกิจอย่างไร ให้มากกว่าเดนิม สร้างการโตนิวไฮรอบ 7 ปี

Heineken 0.0 เบยร์ไม่มีแอลกอฮอลล์ แกกกฏโฆษณา และฉีกภาพเบียร์ในตำนาน

ต่อไปนี้ ระบบการทำธุรกิจ จะโดน Distrub