‘บิ๊กธุุรกิจ’ ชี้ดิจิทัลวอลเล็ตปลุกใช้จ่าย แนะซื้อสินค้าไทย ดันเงินสะพัด
นับถอยหลังสู่วันที่ 25 ก.ย. ชาวไทยกลุ่มเปราะบาง 14.5 ล้านราย ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการจะได้รับเงิน 10,000 บาทจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจที่แปลงร่างจาก “ดิจิทัล วอลเล็ต”
เงินหมื่นเข้ากระเป๋าย่อมทำให้บรรยากาศจับจ่ายใช้สอยคึกคัก สอดคล้องกับความเห็นภาคเอกชนยักษ์ใหญ่สินค้าอุปโภคบริโภค ที่มองเม็ดเงินก้อนโตจะช่วยคืนชีพเศรษฐกิจได้ ย่อมดีกว่าไม่มีมาตรการอะไรออกมาเลย
เวทิต โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ไตรมาส 4 โค้งท้ายปีกำลังซื้อดีอย่างแน่นอน เนื่องจากมีเงิน 10,000 บาท ช่วยกลุ่มผู้เปราะบาง 14.5 ล้านคน รวมกว่า 1.45 แสนล้านบาท ซึ่งไม่ว่าประชาชนจะไปใช้ไปหนี้ ทำให้ภาระหนี้น้อยลง ย่อมส่งผลให้มีอารมณ์ในการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นด้วย
“เม็ดเงิน 1.45 แสนล้านบาท ที่ผันเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจย่อมทำให้มีอะไรดีขึ้นมาแน่นอน การมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลช่วยให้บรรยากาศดี เพราะเศรษฐกิจเป็นเรื่องของอารมณ์ในการใช้จ่าย ประกอบกับตอนนี้ตลาดหุ้นเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้น”
อัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจัยที่กระทบเศรษฐกิจไทยเวลานี้ กำลังซื้อที่อ่อนตัวถือเป็นสิ่งที่น่ากังวลมากกว่าแรงกดดันจากภายนอก อย่างภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว อัตราดอกเบี้ย ค่าเงินที่มีความผันผวน ทั้งนี้ เมื่อมีโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจแจกเงิน 10,000 บาท จึงมองบวกและสร้างโมเมนตัมที่ดีในการใช้จ่ายช่วงไตรมาส 4
สำหรับกลุ่มบีเจซี บิ๊กซี ได้รับอานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐทั้งการจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค(FMCG)และค้าปลีก จึงมีการวางแผนรองรับการใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น หวังแรงหนุนต่อเนื่องจากไตรมาส 2 เข้าไตรมาส 3 หมวดอาหารสดมีการเติบโตที่ดี
“ที่ต้องจับตาดูคือประชาชนที่ได้รับเงิน 10,000 บาท จะใช้จ่ายแล้วเกิดการหมุนเวียนกี่รอบ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้จะมีคาดการณ์ช่วยเพิ่มจีดีพี 0.35% ย่อมดีกว่าไม่มีมาตรการใดๆออกมา อย่างไรก็ตาม ปีนี้กำลังซื้อภายในประเทศไม่ดี การท่องเที่ยวยังไม่กลับมาเต็มที่ ทำให้ธุรกิจยังต้องลุ้นภาพรวมปลายปีอีกครั้งจะส่งผลต่อการเติบโต หรืออาจอยู่ในภาวะทรงตัว”
จะเปิดตัวสินค้าใหม่ในรอบ 142 ปี กลุ่มดูแลเส้นผมแชมพูยี่ห้อ “พรอมิส” จากเดิมรับจ้างผลิตให้ลูกค้าแบรนด์ต่างชาติ รวมถึงผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณหรือสกินแคร์
ปี 2568 บริษัทยังเตรียมลงทุนใหญ่ 3,000 ล้านบาท เพื่อผลิตสินค้าจำเป็นอื่นๆเพิ่ม 30% และแตกไลน์กลุ่มใหม่ปีละ 2 หมวด เติมพอร์ตโฟลิโอให้แข็งแกร่ง ส่วนกลุ่มเฮลธ์แคร์จะมีมากกว่า
“ปีหน้าเราจะใช้เงิน 3,000 ล้านบาท สร้างโรงงานผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื้อที่ 200 ไร่ ตรงนั้นมีการสร้างคลังสินค้าของบิ๊กซีเสร็จแล้ว พอเรามีครบทั้งต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ การสร้างโรงงานดังกล่าวจะเป็นแรงส่งให้กับธุรกิจค้าปลีก ซึ่งบิ๊กซีกำลังจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯด้วย ระดมทุนขยายธุรกิจแล้ว”
:: รณรงค์ซื้อสินค้าไทย ช่วยธุรกิจเล็ก ::
ตัน ภาสกรนที กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นว่า เงิน 10,000 บาทกระตุ้นเศรษฐกิจ ประชาชนควรใช้ซื้อสินค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะสินค้าที่มาจากผู้ประกอบการไทย เอสเอ็มอี และร้านโชห่วยของไทย ร้านเล็กๆ เพื่อช่วยผู้ที่มีความยากลำบากกว่าไปในตัว และทำให้เม็ดเงินแสนล้านบาทหมุนเวียนในประเทศให้ทั่วถึงที่สุด
ตัน ภาสกรนที กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นว่า เงิน 10,000 บาทกระตุ้นเศรษฐกิจ ประชาชนควรใช้ซื้อสินค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะสินค้าที่มาจากผู้ประกอบการไทย เอสเอ็มอี และร้านโชห่วยของไทย ร้านเล็กๆ เพื่อช่วยผู้ที่มีความยากลำบากกว่าไปในตัว และทำให้เม็ดเงินแสนล้านบาทหมุนเวียนในประเทศให้ทั่วถึงที่สุด
“ถ้าเป้าหมายรัฐบาลคือการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทุกคนที่ได้ ควรช่วยกันกระตุ้นเศรษฐกิจนำเงินออกมาใช้จ่ายกันเต็มที่ ไม่ต้องห่วง ไม่ต้องเก็บ ถ้าจะให้ได้ประโยชน์เต็มที่ แต่อยากจะชวนให้เลือกสินค้าสัดนิด เลือกช่วยกลุ่มเอสเอ็มอี ฐานรากของคนไทย ร้านโชห่วยเล็กๆ ช่วยคนที่ลำบากกว่าเราให้เงินหมุนหลายๆ รอบมากที่สุด ดีกว่าซื้อโดยไม่คิดอะไร ไม่เลือกอะไร”
ธนินท์รัฐ ภักดีภิญโญ ผู้เชี่ยวชาญธุรกิจค้าปลีกและบริหารศูนย์การค้า กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มลูกค้าระดับกลางลงล่าง ที่มีปัญหาด้านหนี้สินครัวเรือน ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนจากนิยมเสื้อผ้าแฟชั่น มาเป็นการบริโภคอาหารอร่อยที่ช่วยในเรื่องสร้างความสุข ผ่อนคลายเครียด จะเห็นว่าแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ มีการรีวิวอาหารจำนวนมาก เป็นปัจจัยที่ทำให้พฤติกรรมของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป
ดังนั้น ผู้ประกอบการค้าปลีกควรปรับพื้นที่ขายกำหนดสัดส่วนธุรกิจเน้นร้านอาหาร ภัตตาคาร ศูนย์อาหาร 50-60% ของพื้นที่ อาจตั้งชื่อโดดเด่น เช่น ฟู้ดฮับ (Food Hubs) หรือ ฟู้ดฮอลล์ (Food Hall) พร้อมดึงร้านดาวเด่นมาเปิดให้บริการ ขณะที่ “แฟชั่น” ควรปรับลดลงเหลือเพียง 15% จากเดิม 35% อีก 25% เป็นสถาบันการเงิน 5% โคเวิร์คกิ้งสเปซ 3% เพ็ตช็อป 1% ฟิตเนส 2% ร้านสะดวกซื้อ หรือ ซูเปอร์มาร์เก็ต ส่วนที่เหลือจัดทำพื้นที่ร้านค้าทั่วไปตอบโจทย์กลุ่มคนรุ่นใหม่
“ทีมผู้บริหารต้องศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าในแต่ละพื้นที่ตั้งของตนเองให้ชัดเจน เพื่อจัดกิจกรรมทางการตลาดตอบโจทย์ลูกค้าให้มาใช้บริการต่อเนื่องซ้ำๆ ทุกสัปดาห์”
สำหรับแนวทางการออกแบบศูนย์การค้า ควรให้มี 2 บรรยากาศ คือ อินเดอร์ มีการเปิดเครื่องปรับอากาศเพราะสภาพอากาศเมืองไทยร้อนมาก และ เอาต์ดอร์ รองรับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการอากาศโปร่งโล่งและการเข้ามาทำกิจกรรมในยามเย็น
“หากมีการรีโนเวทพื้นที่ใหม่ ต้องปรับดีไซน์ให้ทันสมัย โปร่งโล่งสบาย ไม่อึดอัด สะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชน เพื่อกระตุ้นให้คนในชุมชนเกิดความภาคภูมิใจเสมือนมีส่วนร่วม และทำให้มีความใกล้ชิดกับลูกค้าในพื้นที่มากขึ้น”
นอกจากจากนี้ควรจัดพื้นที่ส่วนหนึ่งรองรับสถานที่ราชการเพื่อให้บริการประชาชน เช่น ทำบัตรประชาชน ทำหนังสือเดินทาง สรรพากร ฯลฯ เพราะส่งผลดีทำให้คนในพื้นที่ได้รับความสะดวก กระตุ้นทราฟฟิกเพิ่มอีกทาง
พร้อมจัดกิจกรรมมวลชนสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ ทั้งซีเอสอาร์และซีอาร์เอ็ม เพื่อสร้างความประทับใจ สร้างภาพจดจำแบรนด์ในชุมชนในชุมชน รัศมี 3-5 กิโลเมตร
“ท่ามกลางตลาดค้าปลีกที่แข่งขันรุนแรง มีผู้ประกอบการทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กต้องปิดตัวลง ผู้ประกอบการที่อยู่ในตลาดต้องมุ่งบริหารจัดการพื้นที่ใหม่ให้สร้างสรรค์และเกิดประโยชน์สูงสุด ทันสมัย พร้อมติดตามเทรนด์ของลูกค้าเสมอ เชื่อว่าโอกาสของค้าปลีกท้องถิ่นยังมีอีกมาก
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็นต่อบทความนี้