คอนโดปี68 จ่อนิวโลว์!ตลาดปรับสมดุลหลังเปิดใหม่ต่ำสุดรอบ 15 ปี
.
ทั้งนี้ ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา มีการเปิดตัวคอนโดมิเนียมโครงการใหม่ในพื้นที่ใจกลางเมืองเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ยังคงมีอุปทานคอนโดมิเนียมรอการขายในพื้นที่ดังกล่าวอีกเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน เป็นเหตุให้ปี 2567 ดีเวลลอปเปอร์เลือกที่จะ “ชะลอ” การเปิดตัวโครงการใหม่ในทำเลย่านนี้ออกไป
นอกจากพื้นที่ใจกลางเมือง รองลงมา คือ พื้นที่รอบเมืองทางทิศเหนือ (รัชดา, พหลโยธิน ) จำนวน 6,359 ยูนิต หรือคิดเป็นสัดส่วน 29.04% ตามมาด้วย พื้นที่รอบเมืองทางทิศตะวันออก (สุขุมวิท) ประมาณ 2,749 หน่วย หรือคิดเป็น 12.55%.
นอกจากพื้นที่ใจกลางเมือง รองลงมา คือ พื้นที่รอบเมืองทางทิศเหนือ (รัชดา, พหลโยธิน ) จำนวน 6,359 ยูนิต หรือคิดเป็นสัดส่วน 29.04% ตามมาด้วย พื้นที่รอบเมืองทางทิศตะวันออก (สุขุมวิท) ประมาณ 2,749 หน่วย หรือคิดเป็น 12.55%
.
ภัทรชัย กล่าวว่า ในปี 2567 ดีเวลลอปเปอร์ส่วนใหญ่ยังคงเลือกที่จะพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นนอกมากขึ้น หรือพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยเฉพาะรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงรามคำแหง-ลำสาลี รถไฟฟ้าสายสีเหลืองบริเวณถนนลาดพร้าวและศรีนครินทร์ และรถไฟฟ้าสายสีชมพู ถนนรามอินทรา
สำหรับคอนโดมิเนียม “พื้นที่ใจกลางเมือง” หรือกรุงเทพฯ เขตชั้นใน มีการพัฒนามากขึ้นกว่าช่วงหลายปีที่ผ่านมา พบว่ามีโครงการคอนโดมิเนียมที่มีราคาเสนอขายเฉลี่ยต่อตารางเมตรสูงกว่า 1 ล้านบาท เปิดขายใหม่ย่านสุขุมวิท แต่คอนโดมิเนียมในพื้นที่ใจกลางเมืองยังคงต้องเผชิญกับปัญหา “ราคาที่ดิน” ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้องเลือกพัฒนาใน “พื้นที่รอบใจกลางเมือง” หรือเขตกรุงเทพฯ ชั้นกลางมากขึ้น.
สำหรับโครงการคอนโดมิเนียมที่เปิดขายในปี 2567 อุปทานมากกว่า 66.21% หรือ 14,495 ยูนิต อยู่ในช่วงราคา 50,001-100,000 บาทต่อตารางเมตร ตามมาด้วยช่วงราคา 100,001-150,000 บาทต่อตารางเมตร จำนวน 4,233 ยูนิต สัดส่วน 19.33% และช่วงระดับราคามากกว่า 250,000 บาทต่อตารางเมตร จำนวน 958 ยูนิต สัดส่วน 4.37%
.
อย่างไรก็ตาม ในปี 2568 คาดการณ์ว่าจะมีแฟลกชิปคอนโดมิเนียมที่น่าจับตามองใน “พื้นที่ใจกลางเมือง” ที่จะกลับมาสร้างกระแสให้คอนโดมิเนียมใจกลางกรุงเทพฯ กลับมาคึกคักอีกครั้ง ด้วยรูปแบบโครงการและราคาเสนอขายที่อาจสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมาของตลาดคอนโดมิเนียมในเมืองไทย รวมถึงโครงการคอนโดมิเนียมที่มียูนิตขายน้อย หรือ One Floor One Unit จะยังคงเป็นโครงการที่ได้รับความสนใจจากลูกค้าที่มีกำลังซื้อ
โดยคอนโดมิเนียมระดับราคา 100,000-150,000 บาทต่อตารางเมตร ยังคงเป็นเซกต์เมนต์ที่น่าจับตามองในปี 2568 เนื่องจากเป็นระดับราคาที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายในภาวะที่กำลังซื้อยังไม่ฟื้นตัว! ขณะเดียวกันจะมีการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมในช่วงราคาขายเฉลี่ยต่ำกว่า 100,000 บาทต่อตารางเมตร ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อดึงดูดกำลังซื้อในกลุ่มลูกค้าเรียลดีมานด์ และกลุ่มนักลงทุนที่ซื้อเพื่อปล่อยเช่าในหลายทำเล ในรูปแบบ “แคมปัสคอนโด” รวมถึงคอนโดมิเนียมริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่จะกลับมาคึกคักอีกครั้ง!
.
อย่างไรก็ดี ปัจจัยความสำเร็จในการกระตุ้นกำลังซื้อในภาวะที่ตลาดชะลอตัวในปี 2568 กลยุทธ์หลักที่สำคัญ คือ “ราคาขาย” และ “ดีไซน์” ส่วนซัพพลายในตลาดโดยเฉพาะคอนโดมิเนียมที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ หลายโครงการทยอยปิดการขายลงอย่างต่อเนื่องหลังจากปรับลดราคาลงมาเพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ
.
ขณะเดียวกัน ดีเวลลอปเปอร์ระมัดระวังในการกำหนดราคาขายมากขึ้น หากสูงกว่าราคาตลาดอาจทำให้โครงการไม่ได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้ซื้อ แต่หากราคาขายที่เปิดตัวมาต่ำกว่าราคาขายในตลาด รูปแบบโครงการน่าสนใจ ทำเลดี เชื่อว่าจะกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ สวนทางกับภาพรวมตลาดและสภาพเศรษฐกิจชะลอตัว
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็นต่อบทความนี้