บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2021

อนาคต "แกรมมี่" หลังขายหุ้นให้ตระกูล "ศิริวัฒนภักดี"

รูปภาพ
มีคนยังสงสัย ว่า RS Promotion ปิดตัวไปแล้ว แล้วคู่แข่งอย่างค่าย “แกรมมี่” ยังคงอยู่ดีมีสุขอยู่เหรอ บอกเลยครับ ว่าตอนนี้ “แทบเอาตัวไม่รอด” ล่าสุดยอมขาย GMMZ สัดส่วน 50% ให้กับตระกูล “สิริวัฒนภักดี” ของเบียร์ช้าง GMMZ เคยวางเป็นธุรกิจดาวรุ่ง จึงทุ่มลงทุนไปจำนวนมหาศาล ทั้งคอนเทนต์ และการจัดจำหน่ายผลิตกล่องดาวเทียม แต่สุดท้าย ก็ทนไม่ไหว ขาดทุนชนิดเลือดสาด หมดไปหลายพันล้าน จน “อากู๋” ต้องทยายตัดขายหุ้น ที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก ออกไปจากบริษัทฯ เริ่มจากขายทิ้งหุ้น “มติชน” ในราคา "เท่าทุน" ให้กับกลุ่มจึงรุ่งเรืองกิจ ตามด้วยการขายหุ้นในซีเอ็ด (ร้านหนังสือ) จนในที่สุด ตัดขายทิ้งธุรกิจเพย์ทีวี ไปให้กับ CTH ตาม มาด้วยธุรกิจสิ่งพิมพ์ทั้งหมด รวมมูลค่า 45 ล้านบาท ให้กับบริษัท ซีทรู จำกัด นอกจากนั้น ยังขายหุ้น 50% ที่ถืออยู่ในบริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ ให้กับบมจ.เวฟ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ของกลุ่มมาลีนนท์ เมื่อตัดอวัยวะเพื่อรักษาชีวิตของแกรมมี่ ก็ต้องฝากอนาคตไว้กับ ธุรกิจ “ทีวีดิจิทัล” ที่ประมูลมาถึง 2 ช่อง คือช่องวันและช่อง GMM 25 ช่องวัน นั้นอยู่ภายใต้การดูแล ของ บอย-ถกลเ...

แอ๊ด คาราบาว ธุรกิจ 10,000 ล้าน จาก "คาราบาวแดง"

รูปภาพ
“แอ๊ด คาราบาว” บนเส้นทางนักดนตรี ที่ใช้เสียงเพลงนำทางสู่ความสำเร็จ ได้รับการจารึกในวงการเพลงเพื่อชีวิต พร้อมได้รับยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล) อีกบทบาทหนึ่งของเขา ยังสร้างธุรกิจบนฐานของคนฟังเพลง และชื่อเสียงที่สั่งสมมา โดยผนึกกำลังกับหุ้นส่วน เสถียร เศรษฐสิทธิ์ และณัฐชไม ถนอมบูรณ์เจริญ เริ่มต้น บริษัท คาราบาวตะวันแดงจำกัด (CBD) เพื่อดำเนินธุรกิจผลิต การตลาด และจำหน่ายเครื่องดื่มบำรุงกำลังในปี 2545 จากชื่อ “คาราบาว” กลายเป็น “คาราบาวแดง” พร้อมแคมเปญการตลาดสร้างกระแสครึกโครม ทั้งการเดินขบวนคาราวานทุกหัวเมือง ติดป้ายโฆษณา และสปอตโฆษณาทั่วเมือง กับเพลง “นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่” ความยาว 2 นาที สามารถแจ้งเกิดแบรนด์ได้อย่างเต็มภาคภูมิ งบประมาณหลายร้อยล้านบาท ถูกทุ่มเทเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาด จากยักษ์ใหญ่ที่เป็นเจ้าตลาดเดิม เริ่มผลิดอกออกผลตั้งแต่ปีแรก ทำให้บริษัทสามารถขึ้นแท่นสู่อันดับ 3 ด้วยส่วนแบ่งราว 10% จากคู่แข่ง 7-8 แบรนด์ ก่อนจะอัดงบเพิ่มเป็น 1.5 พันล้านบาทในปีต่อมา ทำให้สามารถครองส่วนแบ่งเป็นอันดับ 2 ในปัจจุบัน ไม่เพียงเท่านั้น ยัง...

หรือว่า JAYMART จะเดินตามรอย I-Mobile?

รูปภาพ
แต่ตอนนี้ ล่าสุดมันไม่ใช่ ใครทำธุรกิจมือถือ ต้องระวังตัว เมื่อปีที่แล้ว I Mobile จากค่ายสามารถ ก็สั่นคลอน ถึงคราวอวสาน จนต้องปิดร้าน ปิดธุรกิจไป เป็นอะไรที่คนแทบไม่น่าเชื่อ วันนี้มีอีกค่ายหนึ่ง ที่ทำธุรกิจคล้ายๆ กัน นั่นคือ Jaymart ที่ผันตัวเอง มาเป็นตัวแทนจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งขายส่ง-ขายปลีก จนมีสาขาถึง 211 สาขาทั่วประเทศ เมื่อก่อน Jaymart มีรายได้แต่ละปีเกิน 10,000 ล้านบาท และมีกำไรอยู่ที่ 300-500 ล้านบาท/ปี แต่ล่าสุดในปี 2018 ที่ผ่านมา Jaymart กำลังพบเจอกับคำว่า “ขาดทุน” มีรายได้ 12,895 ล้านบาท ขาดทุน 277 ล้านบาท เฮ่ย ! มันเกิดอะไรขึ้น หรือจะเดินตามรอย I Mobile ตัวเลขล่าสุด รายงานว่า ที่นี่ กำลังมียอดขายลดน้อยลงในทุกช่องทาง ปี 2017 ยอดขายปลีก 8,264 ล้านบาท ปี 2018 ยอดขายปลีก 7,633 ล้านบาท รายได้ธุรกิจหลักอย่าง Smartphone หายไป 1,110 ล้านบาทหากเทียบกับปี 2017 วิเคราะห์สาเหตุ มาจากว่าตอนนี้คนซื้อ Smartphone ลดลง และรุ่นใหม่ๆ คนก็ไม่สนใจเหมือนเมื่อก่อน ขนาด iPhone ยังเจอปัญหายอดขายไม่น่าพอใจ จำนวนเครื่องขายลดลงมากกว่า 5% นอกจากนั้นแล้วยังมีคู่แข่งที่น่ากลัว ...

น้ำดื่มยุคนี้ ต้องมีรสหวาน

รูปภาพ
ท่ามกลางความร้อนระอุของอากาศ ทำให้ “ตลาดเครื่องดื่ม” มูลค่ามหาศาล ไม่ต่ำกว่า 2.3 แสนล้านบาท สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เป็นตัวเลข 2 หลักในช่วง 5 ปีมานี้ “พ.ร.บ.สรรพสามิตฉบับใหม่” กำหนดว่าเครื่องดื่มที่มีค่าความหวาน เกิน 6 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ต้องเสียภาษี และเดือนตุลาคมนี้ ภาษีน้ำหวานรอบใหม่ จะจัดเก็บเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่เกิน 10 กรัมต่อ 100 มล. แบบขั้นบันได อัตราสูงสุดเพิ่มขึ้น 400% ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาผู้ประกอบการ จึงเดินหน้าพัฒนาสินค้า “ลดหวาน” เข้ามาในพอร์ตโพลิโอของทุกค่าย กลุ่ม “ซอฟต์ดริงก์” ปรับตัว ด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ สูตร “น้ำตาลต่ำ” เข้ามาในตลาดมากขึ้น แต่ในกลุ่มสินค้าที่ผู้บริโภคยังชื่นชอบรสชาติเดิม ผู้ผลิตจะใช้วิธีลดไซส์สินค้า เพื่อให้ยังคงจำหน่ายราคาเดิมได้ และไม่กระทบกับกำลังซื้อผู้บริโภค ผู้ประกอบการทุกแบรนด์ พยายามหา “ช่องว่าง” และโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ ด้วยการออก “น้ำเปล่าที่เป็นมากกว่าน้ำเปล่า” ประกอบกับพฤติกรรมคนไทย ที่ชอบกิน “หวานแต่ยังรักสุขภาพ” จึงต้องการเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลต่ำ ที่ดับกระหายและได้รับความสดชื่น รายแรกๆ ที่เข้ามาในตลาดนี้ คือ “go...

Jubilee ร้านขายเพชร ที่มีสาขามากที่สุด

รูปภาพ
จริงๆ เราต้องยอมรับว่า สินค้าตอนนี้ ใครๆ ก็ต้องมีแบรนด์กันทั้งนั้น ห้างทอง ต่างสร้างแบรนด์กันมานาน แล้วห้างเพชรหล่ะ เค้าสร้างแบรนด์กันมั๊ย! ถ้าพูดถึงเพชร คุณต้องรู้จักชื่อนี้ Jubilee ร้านขายเพชรระดับพันล้าน ที่มีหน้าร้านมากที่สุดในประเทศไทย ขายอัญมณีจนรายได้ 1,548 ล้านบาท Jubilee ถือเป็นแบรนด์เก่าแก่ ก่อตั้งมาเมื่อปี 2536 โดยช่วงแรกเป็นการเปิดเพียงไม่กี่สาขา และทำการขยายหน้าร้านในรูปแบบเฟรนไชส์ ไปตามจังหวัดต่างๆ จนในปี 2544 ได้พลิกวงการอัญมณี ผ่านการตั้งจุดขายในห้างสรรพสินค้า จนกลายเป็นร้านอัญมณี Counter Brand รายแรกของไทย เมื่อธุรกิจเติบโตได้ระดับหนึ่ง Jubilee จึงเข้าจดทะเบียนในตลาดทรัพย์เมื่อปี 2552 พร้อมกับวางโครงสร้างธุรกิจใหม่ ไล่ตั้งแต่การจัดซื้ออัญมณีที่มีคุณภาพ เพื่อให้ทีมออกแบบของบริษัท สร้างสรรค์สินค้าที่สวยงามตรงใจผู้ซื้อ จากนั้นก็จ้างพาร์ทเนอร์ภายนอกผลิต แต่บริษัทก็ยังคุมคุณภาพตลอดเวลา เท่านั้นยังไม่พอ ที่นี้ได้มีการทำ Loyalty Program หรือบัตรสมาชิก เพื่อให้เกิดการซื้อซ้ำภายในร้านมากขึ้น ปัจจุบันจุดจำหน่ายถึง 130 แห่ง มีหน้าร้าน 3 แบบคือ Flagship Store, Jub...

เมื่อเจ้าสัวธนินทร์ ออกจาก CPF ต้องจับตา "ใครจะมาแทน?"

รูปภาพ
การตัดสินใจยื่นใบลาออกจากตำแหน่ง ของ คุณธนินท์ เจียรวนนท์ จาก “ประธานกรรมการ” CPF หรือ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) เป็น “ข่าวใหญ่” เมื่อสัปดาห์ก่อน การขยับตัวครั้งนี้ ย่อมเป็นที่จับตามอง หลายคนคิดว่าเป็นการขยับตัว เพื่อเปิดทาง “คนรุ่นใหม่” ในองค์กร และตีความว่า เป็น “มืออาชีพ” ที่เป็น “คนนอก” เพราะช่วงหลัง คุณธนินท์ ให้ความสำคัญกับการพัฒนา “คนรุ่นใหม่” มาก เขาให้เวลากับสถาบันพัฒนาผู้นำ ของ “ซี.พี.” ที่เขาใหญ่ อย่างมาก ไม่ใช่แค่ดูแต่รายงาน แต่ลงไปคลุกคลีด้วยตัวเองอย่างจริงจัง ช่วงหลายปีที่ผ่านมา คุณธนินท์ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ เครือเจริญโภคภัณฑ์เป็น “โฮลดิ้ง” ของตระกูล เขาให้ คุณสุภกิต เจียรวนนท์ มานั่งเป็นประธานกรรมการ และ คุณศุภชัย เจียรวนนท์ เป็น “ซีอีโอ” จากนั้นก็ขยับตัวครั้งที่สอง คือ การลาออกจากประธานกรรมการที่ CPF พร้อมกับการหมดวาระของ “มิน เธียรวร” มือการเงินคู่บารมี ไหนจะวางมือแล้วก็วางมือกันเป็นทีม และทันทีที่เห็นกรรมการใหม่ที่เข้ามา ก็มีชื่อ “สุภกิต” ลูกชายคนโตของคุณธนินท์อยู่ด้วย และเป็น “เจียรวนนท์” คนเดียวในบริษัท ภาพจึงค่อนข้างชัดเจนว่า “ประธานกรร...

Lonely Marketing การตลาดสำหรับคนเหงา

รูปภาพ
ธุรกิจเปลี่ยนไป การทำการตลาดก็เปลี่ยนไป ยุคนี้เป็นยุคคนเมือง ทำให้ต่างคนต่างดิ้นรนทำมาหากิน ทำให้ความสำคัญระหว่างบุคคลลดลง ไม่ว่าจากเพื่อน จากแฟน จากที่ทำงาน หรือจากครอบครัว ทำให้ตอนนี้เริ่มมีศัพท์การตลาดแปลกๆ ขึ้นว่า ที่เค้าเรียกว่า “Lonely Marketing : การตลาดสำหรับคนเหงา” ความเหงาไม่ใช่เรื่องเล่นๆ อีกต่อไป มันเกิดเป็นคนกลุ่มใหญ่ ที่สร้างโอกาสทางธุรกิจได้มากมาย มีหลายธุรกิจที่ตอบโจทย์คนเหงา มันไม่ได้มีแค่เสียงเพลง กับการ Hang Out อีกต่อไป มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ CMMU บอกว่า วัยรุ่นและคนทำงานอยู่ในกลุ่มเหงามากสุด การทำการตลาดยุคนี้ สมัยนี้ จำเป็นต้องเจาะเซ็กเมนต์เฉพาะกลุ่มมากขึ้น เพื่อที่จะนำเสนอแคมเปญการตลาดได้ตรงจุด ให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ และพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้ กลุ่มคนเหงา เป็นอีกหนึ่งเทรนด์การตลาด ที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ เพราะตอนนี้กลุ่มคนเหล่านี้มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงขนาดที่ว่าบางประเทศ มีนโยบายบางอย่างเพื่อรองรับกลุ่มคนเหงาเลยด้วย คนแต่ละคน มีมีระดับความเหงาที่แตกต่างกัน แต่ภาพรวมๆ จะหมายถึงคนที่รู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว ความเหงาเป็นหนึ่งในปัจจัยด้านอารมณ์ ที่ส...

7 ทีวีดิจิตอลคืนช่อง พนักงานถูกลอยแพกว่า 300 คน

รูปภาพ
  เรื่องที่ไม่น่าเกิด ก็ต้องเกิด เรื่องที่ไม่น่าเป็นก็ต้องเป็น เมื่อเจ้าของ “ทีวีดิจิตอล” ก้าวเท้าเข้าคืนช่องถึง 7 ช่อง โดยไม่สนเงื่อนไขการเยียวยาหรือผ่อนปรันใดๆ . สมัยตอนประมูลกันแรกๆ ตอนนั้นผมเริ่มเขียน ChatTalks ใหม่ๆ เคยวิจารณ์ไว้หนึ่งครั้ง ว่า กสทช. บ้านเรานี่เพี้ยนๆ เพราะอินเตอรเน็ตเริ่มมา โซเชียลมีเดียเริ่มเกิด ประเทศที่เค้าเจริญแล้ว เค้าลดช่องทีวีลง เพราะคนดูจะน้อยลง แต่บ้านเรากับสวนทาง เพิ่มช่องทีวีซะหลายสิบช่อง (สมัยนั้นผมนั่งขำอยู่คนเดียว ว่านี่เค้าทำอะไรของเค้า) . ตอนนั้น คนมีเงินลงทุนต่างนั่งฝัน ว่าฉันจะได้เป็นเศรษฐีซะที เพราะได้เป็นเจ้าของช่องทีวี โดยมีตระกูล “มาลีนนท์” แห่งช่อง 3 เป็นแม่แบบ (และช่องนี้ ก็เข้าประมูลกับเขาด้วย) . เมื่อได้ช่องมา หลายคนเริ่มรู้ว่ามันไม่ง่าย เพราะสถานี่โทรทัศน์ต้นทุนสูง บุคลากรก็มีจำกัด ต้องทุ่มเงินสร้างและซื้อ Content เจ๋งๆ ถึงจะยืนอยู่และมีรายได้พอกับค่าสัมปทานที่จ่ายไป . เมื่อต้นปีที่ผ่านมา คุณหมอประเสริฐ แห่ง PPTV เริ่มมองออก และเริ่มปรับตัว ทุ่มเงินสร้างและซื้อ Content เพื่อสร้างเรทติ้งให้กับช่อง โดยเริ่มจากซื้อรายการถ่ายทอดสุดฟุตบอล...

ไก่ย่าง 5 ดาว เปลี่ยนชื่อเป็น Five Star เพื่อบุกตลาด AEC

รูปภาพ
ธุรกิจหนึ่ง เมื่อตลาดเปลี่ยนก็ต้องเปลี่ยน บางคนขยายธุรกิจ สร้างสินค้าใหม่ แบรนด์ใหม่ แต่บางราย เปลี่ยนชื่อจาก “ภาษาไทย” เป็น “ภาษาอังกฤษ” ดั่งเคสของ “ไก่ย่าง 5 ดาว” ที่เปลี่ยนเป็น “FIVE STAR” . “ไก่ย่าง 5 ดาว” เริ่มธุรกิจในปี 2528 ดำเนินกิจการโดยตรงจาก CPF (บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร) และเมื่อมีการเติบโตของยอดขาย จึงเดินหน้าเป็นรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์ ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา . หลังจากนั้น ได้เริ่มขายธุรกิจ และไม่ได้ขายเฉพาะ “ไก่ย่าง” อย่างเดียว และเตรียมขยายตลาดไปในแถบเอเชีย จึงเปลี่ยนชื่อให้ทันสมัยขึ้น โดยใช้ชื่อว่า “FIVE STAR” . เมื่อเปลี่ยนชื่อ จึงเพิ่มสินค้าเข้าไปในร้าน เริ่มมีไก่ทอด ข้าวมันไก่ บะหมี่เกี๊ยวกุ้ง เรดดี้มีล และไส้กรอก และยังขยายไปยังต่างประเทศ คือ เวียดนาม อินเดีย ลาว และกัมพูชา . “FIVE STAR” แม้จะยังมีคำว่า “5 ดาว” อยู่ แต่ทาง CPF ต้องการทำให้ภาพลักษณ์ ของแบรนด์ดูทันสมัยมากขึ้น และทำให้ผู้บริโภคไม่ได้จำได้ เฉพาะไก่อย่างเดียว เพราะวันนี้ สินค้าในร้าน ถูกขยายไปเรื่อยๆ บางเมนูมีจัดเป็น SET อาหารอีกด้วย . ปัจจุบัน FIVE STAR มีสาขาอยู่ราว 6,000 สาขาในไทย และอีก 1,600 สาขาในต...

VGI เข้าซื้อ Plan B สู่ผู้นำตลาด Out Of Door Media

รูปภาพ
  ประเทศไทย ถ้ามองกันในด้านสื่อ จะมีกลุ่มใหญ่ๆ อยู่ 3 ประเภท สื่อหลัก คือ ทีวี หนังสือพิมพ์-นิตยสาร และวิทยุ สื่อรอง เรามักเรียกว่า Out of Door กลุ่มนี้ผู้ที่ครองตลาดคือ Plan B ก็จะมีทั้ง สื่อโฆษณาบนระบบขนส่งมวลชน(Transit Media) สื่อโฆษณาภาพนิ่งกลางแจ้ง (Classic Media) สื่อโฆษณาดิจิตอลกลางแจ้ง (Digital Media) สื่อโฆษณาภายในห้างสรรพสินค้า (Mall Media) สื่อโฆษณาภายในซุปเปอร์มาร์เก็ต (In-Store Media) สื่อโฆษณาภายในสนามบิน (Airport Media) สื่อโฆษณาออนไลน์ (Online Media) สื่อที่ 3 เพิ่งเกิดหลังสุด คือสื่อบนรถไฟฟ้า ภายใต้การดำเนินการของ วีจีไอ โกลบอล มีเดีย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของธนายง (เจ้าของสัมปทานรถไฟฟ้า) . ล่าสุด เรื่องที่ไม่น่าเกิด ก็เกิดขึ้น เมื่อ VGI ต้องการเป็นผู้นำ “ออฟไลน์ทูออนไลน์ โซลูชั่น” (O2O Solutions) บนแพลตฟอร์ม 3 ธุรกิจหลัก คือ สื่อโฆษณา เพย์เมนต์ และโลจิสติกส์ "วีจีไอ โกลบอล มีเดีย" จึงเดินหน้า เข้าซื้อกิจการ (M&A) และร่วมทุน (JV) ล่าสุดเข้าซื้อหุ้น “แพลนบี” มูลค่า 4,600 ล้านบาท มีสัดส่วนการถือหุ้น 18.6% . สิ่งที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ทำให้ VGI ครองส่วนแบ่งการ...

วิเคราะห์ศึก 3 ก๊ก เจ้าพ่อตลาดออนไลน์

รูปภาพ
  ก้าวเข้ามาอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีนี้ เหมือนคลื่นใหญ่ยักษ์ที่แผ่ขยาย สร้างผลกระทบในวงกว้าง กับตลาดค้าปลีกออนไลน์ของไทย . เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ที่กวาดผู้ประกอบการมากมายให้กลืนหายไป ในทางกลับกัน ได้แผ้วถางพื้นที่สร้างผู้เล่นหน้าใหม่ ที่เกิดขึ้นจำนวนมาก หลายรายอาศัยความได้เปรียบ เรื่องประสบการณ์และเงินทุนหนุนหลัง ขยายอาณาจักรทางธุรกิจจนเติบโต กลายเป็นเจ้าใหญ่ในตลาดค้าปลีกออนไลน์ อย่าง Lazada, Shopee และ 11Street สามขาใหญ่ ที่กำลังเปิดศึกแย่งชิงความเป็นหนึ่ง ในตลาดค้าปลีกออนไลน์ของประเทศไทย . ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยในปี 2016 มีมูลค่า 2,560,103.36 ล้านบาท มีแนวโน้มเติบโตประมาณ 10% ทุกปี ส่วนหนึ่งมาจากการที่ไม่ว่า ใครก็สามารถเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ได้ง่าย ๆ แค่มีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ แต่การจะทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้นนั้น ต้องอาศัยแพลตฟอร์มหรือหน้าร้าน ที่เข้าถึงผู้บริโภคจำนวนมากได้ ซึ่งหลัก ๆ ที่มีผู้ใช้บริการเยอะ อันดับต้น ๆ ก็คือ Lazada, Shopee และ 11Street ที่ต่างก็มีจุดเด่นจุดด้อยที่แตกต่างกันไป แต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ การแย่งชิงทั้งผู้ประกอบการออนไลน์และผู้บริโภค ...